ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานที่มีต่อมโนทัศน์และความสามารถ ในการถ่ายโยงการเรียนรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • ชไมพร จิตรใจมั่น มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วิภาดา ยันตรัตน์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ศิวนนท์ เส็งศรี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • บุญพิทักษ์ โตวิจิตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ชัยรัตน์ โตศิลา มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้โครงงาน, มโนทัศน์, การถ่ายโยงการเรียนรู้, เศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบมโนทัศน์เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงาน และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงาน เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ตามแบบแผนการวิจัยก่อนทดลอง (Pre - Experimental Research) แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (The One Group Pretest – Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนบ้านโคกตูม จ.ลพบุรี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่     แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดมโนทัศน์และแบบวัดความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test dependent)

ผลการวิจัยพบว่า 1. มโนทัศน์เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2563). วิธีการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จตุพร พงศ์พีระ. (2556). สาระวิชาหลักและทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 สู่ (ร่าง) โครงสร้างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับใหม่. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฐิกานต์ รักนาค. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ด้านการแก้ปัญหาการให้เหตุผล และการเชื่อมโยงของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. (ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2553). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัตนาลักษณ์ พันจักร. (2555). การพัฒนามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น โดยเน้นการใช้คำถาม เรื่อง น้ำและอากาศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

ลัดดา ภู่เกียรติ. (2544). โครงงานเพื่อการเรียนรู้: หลักการและแนวทางการจัดกิจกรรม. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษวงศ์.

สมฤดี แจ้งข่าว. (2561). ผลการใช้วิธีสอนแฮร์บาร์ตที่มีต่อต่อมโนทัศน์และการประยุกต์ใช้ความรู้เศรษฐศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท เพชรรุ่งการพิมพ์ จำกัด.

เสาวลักษณ์ ศรีสว่าง. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการ ถ่ายโยงการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน SSCS. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-19

How to Cite

จิตรใจมั่น ช., ยันตรัตน์ ว., เส็งศรี ศ., โตวิจิตร์ บ. ., & โตศิลา ช. . (2021). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานที่มีต่อมโนทัศน์และความสามารถ ในการถ่ายโยงการเรียนรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(4), 119–128. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/252449