รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ที่เหมาะสม กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • พระครูสิริธรรมบัณฑิต (ภาณุวัฒน์ แสนคำ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูพิพิธสุตาทร (บุญช่วย สิรินฺธโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พูนชัย ปันธิยะ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การเผยแผ่, พระพุทธศาสนา, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ พัฒนาการ บริบท สภาพปัจจุบันและวิเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 รูปแบบการวิจัยเชิงเอกสาร การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 รูป/คน เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วนำมาประมวลผลเพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์หาลักษณะร่วม และข้อสรุปร่วม

          ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบและพัฒนาการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทย พบว่าการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยในอดีตเน้นการเทศน์ การประกอบพิธีกรรมเป็นหลัก และพัฒนามาใช้งานด้านการพัฒนาสังคมมาเป็นฐานในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ที่ได้ช่วยรวมชาติหรือสร้างชาติทั้งในส่วนของการหลอมรวมทางด้านจิตวิญญาณของคนไทย 2) บริบทและสภาพปัจจุบันของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่า การเรียนรู้มีบริบทในการพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตอย่างสมดุล มีทักษะจำเป็นและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่น 3) วิเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่าผู้ให้การสนับสนุนสามารถปรับรูปแบบเพื่อช่วยเหลือให้การสนับสนุนพระที่เป็นนักเผยแผ่ นักพัฒนา ให้ทำงานได้สะดวก ผ่านการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ถูกต้องและทันสมัย

References

ดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก. (2520). จริยธรรมของเยาวชนไทย. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

บรรเทา กิตติศักดิ์. (2542). จริยธรรมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญส่ง หาญพานิช. (2546). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษาไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ปอ. ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรภัทร์ ภู่เจริญ. (2547). คิดอย่างเป็นระบบและเทคนิคการแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อริยชน จำกัด.

วัลลภา จันทร์เพ็ญ. (2544). รูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาจริยธรรม ของนักศึกษาช่างอุตสาหกรรมตามแนวคิดการปรับพฤติกรรมทางปัญญา (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาน งามสนิท. (2542). องค์ประกอบของการสื่อสารที่พึงประสงค์ตามแนวแห่งพุทธะ. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุมาลี ชัยเจริญ. 2550. ศึกษาศักยภาพด้านการคิดของผู้เรียน ที่เรียนจากนวัตกรรมการ เรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพด้านการคิด (รายงานการวิจัย). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-25

How to Cite

(ภาณุวัฒน์ แสนคำ) พ., (บุญช่วย สิรินฺธโร) พ., & ปันธิยะ พ. . (2021). รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ที่เหมาะสม กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2), 160–170. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/251073