รูปแบบการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ปนัดดา รักษาแก้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อนุภูมิ โซวเกษม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การกล่อมเกลาทางการเมือง, จังหวัดสุพรรณบุรี

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเรียนรู้และวิธีการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมการเรียนรู้ต่อรูปแบบการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. โรงเรียนให้ความสำคัญต่อการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองโดยให้การส่งเสริมสนับสนุนด้านประชาธิปไตย ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้มีการนำเนื้อหาสาระในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 เสริมเข้าไปในหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกระดับชั้น ถ่ายทอดและเผยแพร่ให้เหมาะสมแก่นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย 2. ปัจจัยที่ส่งเสริมการเรียนรู้ต่อรูปแบบการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบด้วย ครอบครัว สถาบันการศึกษา กลุ่มเพื่อน กลุ่มอาชีพ สื่อมวลชน และองค์กรศาสนา และ 3. รูปแบบการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นรูปแบบที่ตัวแทนการเมือง คือ ครอบครัว สถาบันการศึกษา กลุ่มเพื่อน กลุ่มอาชีพ สื่อมวลชน และองค์กรศาสนา มีความสำคัญและต้องอาศัยกันและกัน โดยให้เด็กมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมเป็นการฝึกให้มีทักษะชีวิตโดยการประยุกต์หลักไตรสิกขา

References

ดุษณี สุทธปรียาศรี และ วรรณา ปูรณโชติ. (2540). กระบวนการปลูกฝังค่านิยมและวิถีชีวิตประชาธิปไตยในสถาบันอุดมศึกษา (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ.

ฉลองโชค ประดิษฐ์สาร. (2559). นโยบาย หลักสูตรการศึกษา และการอบรมกล่อมเกลาทางการเมือง : ศึกษากรณีระดับมัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2554). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เพรส จำกัด.

นุชิต ศุภพินิจ. (2553). ประชาธิปไตยกับการมีส่วนร่วมของสภานักเรียน: กรณีศึกษาสภานักเรียน โรงเรียนกันทรารมณ์ อำเภอกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ปรีชา ธรรมวินทร. (2532). การกล่อมเกลาทางการเมืองโดยผ่านหนังสือเรียน: วิเคราะห์หนังสือเรียนตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (สารนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการปกครอง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไพบูลย์ โพธิ์หวังประสิทธิ์. (2553). การกล่อมเกลาทางการเมืองโดยผ่านสถาบันทางศาสนา: ศึกษาเฉพาะกรณีคำเทศนาของหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ. ภูเก็ต: การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ตวิจัยครั้งที่ 3.

มยุรี ถนอมสุข สุจิต. (2554). การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิตภาควิชาพลศึกษาและกีฬา. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ และพัฒนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2540). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Castro A. J., & Knowles R. T. (2015), International Encyclopedia of the Social and Behavioral Sciences. USA: University of Central Florida.

Haber & Vusi M. (2015). International Encyclopedia of the Social and Behavioral Sciences. USA: University of Central Florida.

Massialas, B. G., & Cox, B. (1966). Inquiry in social studies. New York: McGraw – Hill.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-19

How to Cite

รักษาแก้ว ป. ., & โซวเกษม อ. . (2021). รูปแบบการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(4), 168–181. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/251057