การพัฒนาศักยภาพในการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจและส่งเสริมอาชีพ ชุมชนบ้านมหาราช อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • นฤมล ญาณสมบัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ศักยภาพ, การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ, ส่งเสริมอาชีพ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปและปัญหาการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจของชุมชนบ้านมหาราช อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. พัฒนาศักยภาพในการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจของชุมชนบ้านมหาราช อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยแบบผสมทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ หัวหน้าครอบครัวหรือผู้แทน ครัวเรือนละ 1 คน จำนวน 50 ครัวเรือน  ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 1 คน อสม.ประจำหมู่บ้าน จำนวน 1 คน ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 1 คน สมาชิกอาวุโสในท้องถิ่น จำนวน 1 คน  ตัวแทนกลุ่มอาชีพวิสาหกิจชุมชน จำนวน 1 คน คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 1 คน  รวมทั้งสิ้นจำนวน  56 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การศึกษาเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจ  การศึกษาเชิงคุณภาพใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก

          ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 56 ปีขึ้นไป การศึกษาระดับประถม อาชีพรับจ้าง ไม่มีการประกอบอาชีพเสริม รายได้ครัวเรือนระหว่าง 5,001-10,000 รายจ่ายครัวเรือนระหว่าง 10,001-15,001 ส่วนใหญ่ไม่มีภาระหนี้สิน และไม่มีการออมเงิน และไม่ทำบัญชีครัวเรือน การพัฒนาศักยภาพในการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจและส่งเสริมอาชีพอาชีพของชุมชนบ้านมหาราช อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดำเนินการผ่าน 3 กิจกรรม ซึ่งเป็นความต้องการร่วมกันของชุมชน ดังนี้ 1. กิจกรรมอบรมการทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีต้นทุนอาชีพ 2. กิจกรรมส่งเสริมอาชีพ ได้แก่ การสอนทำขนมครองแครงกรอบ เค้กกล้วยหอมแบบนึ่ง ขนมสาลี่ และ 3. กิจกรรมปลูกพืชสวนครัว

References

จตุพล ยะจอม. (2552). การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลปาย อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฉัตรทิพย์ นาภสุภา. (2544). แนวคิดเศรษฐกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิถีทรรศน์.

นัฐศิพร แสงเยือน และคณะ. (2561). “สวนครัวเรือน” ความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน ชุมชนวัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี. วารสาร วิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 10(6), 471-473.

ผการัตน์ พินิจวัฒน์. (2561). การส่งเสริมอาชีพให้ชุมชน: กรณีศึกษา บ้านโพนไทร ตำบลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 6(3), 927-935.

ภัทรธิรา ผลงามและคณะ. (2561). การพัฒนาศักยภาพการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจชุมชนบ้านนาบอน จังหวัดเลย. วารสาร วิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 10(1), 44-54.

รัฐพล ภุมรินทร์พงศ์และคณะ. (2562). การพัฒนาอาชีพกลุ่มผู้นำสตรี ชุมชนบ้านสันติสุข ตำบลน้ำรึม อำเภอเมือง จังหวัดตาก. วารสาร วิชาการรับใช้สังคม, 3(2), 55-63.

ศุภณิช จันทร์สอง. (2563). การสื่อสารเพื่อพัฒนาศักยภาพในการพึ่งตนเองและการส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชน กรณีศึกษา : บ้านแม่ทะลุ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสาร การพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 8(2), 414-427.

หทัยชนก คะตะสมบูรณ์. (2563). การพัฒนาศักยภาพของชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. วารสาร สันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(2), 475-488.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-25

How to Cite

ญาณสมบัติ น. . (2021). การพัฒนาศักยภาพในการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจและส่งเสริมอาชีพ ชุมชนบ้านมหาราช อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2), 171–184. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/250835