รูปแบบการบริหารจัดการงานสาธารณูปการตามโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขของคณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, งานสาธารณูปการ, โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป องค์ประกอบและรูปแบบ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 25 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา เรียบเรียงและจำแนกอย่างเป็นระบบ ผลการวิจัยพบว่า 1. โครงการนี้เป็นนโยบายสำคัญของคณะสงฆ์มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนงาน 2. องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานฯ 2) ประกาศนโยบาย 3) อบรมให้ความรู้ 4) สำรวจแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ 5) จัดทำแผนปรับปรุง 6) พิธีเปิด การทำสะอาดครั้งใหญ่ 7) ตรวจประเมินพื้นที่ 3. รูปแบบ คือ (1) รูปแบบการวางแผน การวางแผนพัฒนาสาธารณูปการของวัดตามแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ด้านสาธารณูปการของมหาเถรสมาคมซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานโครงการชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดปทุมธานีพร้อมที่จะพัฒนาคนให้เป็นคนเก่งและเป็นคนดีของประเทศในอนาคต (2) รูปแบบการลงมือปฏิบัติ คือ การทำความสะอาดครั้งใหญ่ โดยการทำ Big Cleaning Day และการบริหารจัดการการพัฒนาลงมือปฏิบัติ 9 พื้นที่ (3) รูปแบบการตรวจสอบ โดยจัดให้มีการประเมินผลตามแผนที่กำหนด วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุที่เกี่ยวข้อง และ (4) รูปแบบการปรับปรุงแก้ไข โดยประเมินผลตามแผนที่กำหนด เป็นต้น
References
กองแผนงาน. (2554). คู่มือพระสังฆาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
กองพุทธศาสนสถาน กรมการศาสนา. (2545). คู่มือการพัฒนาวัด อุทยานการศึกษาในวัดลานวัด ลานใจ ลานกีฬา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
คณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี. (2561). คู่มือและกรณีศึกษาการดำเนินงานโครงการฯ. ปทุมธานี: คณะสงฆ์จังหวัดปฐมธานี.
พระครูวัชรสุวรรณาทร ธมฺมโชโต (ลูกชุบ เกตุเขียว). (2558). การประยุกต์ใช้อิทธิบาทธรรมเพื่อส่งเสริมกลยุทธ์การอนุรักษ์โบราณสถานของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูวินัยธรธรรมภณ ธมฺมพโล (แก้วแจ่มศรี). (2558). การพัฒนาการจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูวิสิฐพัชราจาร (ไชยยา เขมสิริ). (2558). การพัฒนาการจัดการสาธารณูปการของพระสังฆาธิการจังหวัดเพชรบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูอุทัยกิจจารักษ์ (สุรางค์ สุจิณฺโณ). (2557). รูปแบบการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาขององค์กรปกครองคณะสงฆ์ ภาค 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปริยัติโสภณ (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2553). การพัฒนาพระสังฆาธิการภาค 2 ภาคปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฏ์. (2550). ทฤษฏีกิจกรรม 5 ส ให้สัมฤทธิ์ผลนั้นมาจากคน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2553). วัดพัฒนาตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนา.
สุรพล สุยะพรหม และคณะ. (2555). พื้นฐานทางการจัดการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น