เส้นใยฝ้าย สานใยบุญ "จุลกฐิน: กรณีศึกษาวัดทัพคล้าย จังหวัดอุทัยธานี”
คำสำคัญ:
จุลกฐิน, ประเพณีท้องถิ่น, จังหวัดอุทัยธานีบทคัดย่อ
ประเพณีจุลกฐินของวัดทัพคล้าย อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เป็นประเพณีท้องถิ่นที่ยังคงรูปแบบการจัดพิธีที่เคยมีการปฏิบัติสืบต่อกันมา ปีพุทธศักราช 2563 ชุมชนได้ร่วมกันจัดกิจกรรมทอผ้ากฐินเพียง 1 ผืนเท่านั้นคือผ้าสบง ส่วนผ้าไตรจีวรและผ้าสังฆาฏินั้นชุมชนได้ทอเก็บไว้แล้ว ประเพณีจุลกฐินของวัดทัพคล้าย มีบทบาทส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมีอัตลักษณ์ในหลายด้าน ดังนี้ 1) ด้านสังคมที่สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ชุมชน 2) ด้านเศรษฐกิจ ทำให้ชุมชนได้มีรายได้เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลการทอดกฐิน 3) ด้านแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ผู้ที่มาร่วมงานได้เรียนรู้และเข้าใจคำว่า จุลกฐิน 4) ด้านการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม ด้วยทุกภาคส่วนให้ความสำคัญร่วมกันจัดงาน 5) ด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทำให้ผู้ที่มาร่วมงานได้สัมผัสกับบรรยากาศความเป็นไทยและได้เห็นประเพณีท้องถิ่น
References
พระจรัส ฤทธิ์ทา. (2548). การวิเคราะห์คุณค่าภูมิปัญญาในจุลกฐิน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พระครูปลัดพิศิษฐ์ เมตฺตจิตโต (พลชานวพงศ์). (2554). ศึกษาวิเคราะห์ประเพณีจุลกฐินของชาวพุทธล้านนา: กรณีศึกษาวัดอนาลโยทิพยาราม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาอภิวรรณ อภิวณฺโณ (จำปาวรรณ). (2561). งานประเพณีมหาบุญจุลกฐินถิ่นไทลื้อ วัดท่าข้ามศรีดอนชัย ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. วารสารมจร นครน่านปริทรรศน์, 2(1) , 83-92.
นิตยา พร้อมพรม. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานจุลกฐิน “การทอจากเมล็ดฝ้ายสู่ไตรจีวร”กรณีศึกษาวัดไชยมงคล ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2563, จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/nakboot/article/view/104172
มณี พยอมยงค์. (2547). ประเพณี 12 เดือนล้านนาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 5). เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์.
เมธาวี ศิริวงศ์. (2556). ประเพณีประดิษฐ์กับการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมกรณีศึกษา งานเทศกาลประเพณีแซนโฎนตา อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น