การป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดตามแนวชายแดน ของชุมชนในจังหวัดเลย
คำสำคัญ:
การป้องกัน, การเฝ้าระวัง, ปัญหายาเสพติด, แนวชายแดนจังหวัดเลยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชุมชนต้นแบบ การพัฒนามาตรการการป้องกันและเฝ้าระวัง เสนอแนวทางการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดของชุมชนตามแนวชายแดนในจังหวัดเลย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุมชนต้นแบบในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด ได้แก่ ชุมชนท่าดีหมี ตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย มีการรวมกลุ่มในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดและการกำหนดกติกาและใช้มาตรการทางชุมชน เช่น มีมาตรการทางสังคม มีกติกาชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สร้างเครือข่ายแกนนำดูแลเฝ้าระวังในชุมชน 2. การพัฒนามาตรการการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด ได้แก่ 1) มาตรการชุมชนมีคณะกรรมการชุมชน เช่น ชรบ. อปพร. 2) มาตรการทางสังคม เช่น พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดชุมชนบำบัด และ 3) มาตรการทางกฎหมาย เช่น ร่วมกันกำหนดพื้นที่เป้าหมาย การมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน การใช้มาตรการดำเนินงานแบบผสมผสาน พัฒนาการกิจกรรมร่วมกัน 3. แนวทางการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด ได้แก่ แนวทางทางสังคมมีการตั้งด่านตรวจค้นหาสารเสพติด ชุมชนเป็นหูเป็นตาแทนเจ้าหน้าที่ แนวทางการใช้กฎหมาย บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด จัดให้ความรู้แก่ชาวบ้านและแนวทางในการป้องกัน แก้ไข เยียวยา มีการบำบัดยาเสพติด ติดตามผลการรักษาและการคืนผู้ป่วยสู่สังคม
References
พูลสุข เพียรพิทักษ์. (2547). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด : ศึกษากรณีกิ่งอำเภอเกาะจันทร์จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศูนย์วิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันรามจิตติ. (2550). การพัฒนาระบบเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ. (2554). ปฏิบัติการวาระแห่งชาติ พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด (สาระสำคัญสถานการณ์ยาเสพติดและความหนาแน่นของปัญหายาเสพติดระดับอำเภอ. เอกสารอัดสำเนา.
สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2552). บทเรียนการดำเนินการป้องกันและแก้ไขยาเสพติดในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
สมิต วัฒนธัญญกรรม และคณะ. (2546). การแพร่ระบาดของสารเสพติดและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเสพสารเสพติดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพฯ: สถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2552). ความรู้และแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
สำนักงานจังหวัดเลย. (2560). รายงานประจำปี 2560. เลย : สำนักงานจังหวัดเลย.
สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2558). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. 2558 – 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
สุรศักดิ์ เลาหพิบูลย์กุล. (2547). อิทธิพลของปัจจัยด้านสังคม ครอบครัวและสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการเสพยาเสพติดของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารองค์การ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น