อิทธิพลของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานการเห็นคุณค่าในตนเองและหลักอิทธิบาทธรรมที่มีต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • สุรินทร์ นิยมางกูร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วัชรินทร์ ชาญศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พิเชฐ ทั่งโต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, การเห็นคุณค่าในตนเอง, หลักอิทธิบาทธรรม, ความสุขในการทำงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความสุขในการทำงานของบุคลากรสายปฏิบัติการ (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน การเห็นคุณค่าในตนเอง และหลักอิทธิบาทธรรมที่มีต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายปฏิบัติการ และ (3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมความสุขในการทำงานของบุคลากรสายปฏิบัติการ การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วย (1) การวิจัยเชิงปริมาณโดยการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรสายปฏิบัติการ จำนวน 297 รูปหรือคน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายและการถดถอยแบบขั้นตอน และ (2) การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย (1) จากการวิจัยเชิงสำรวจ พบว่า บุคลากรสายปฏิบัติการที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความสุขในการทำงาน โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (2) จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, การเห็นคุณค่าในตนเอง และหลักอิทธิบาทธรรม ต่างก็มีอิทธิพลโดยตรงและร่วมกันต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายปฏิบัติการ และ (3) แนวทางการส่งเสริมความสุขในการทำงานฃองบุคลากรสายปฏิบัติการ คือส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน สนับสนุนให้บุคลากรมีการเห็นคุณค่าในตนเองและประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการปฏิบัติงาน

References

กฤชกร บุนนาค และทิพย์วัลย์ สุริยา. (2562). การเห็นคุณค่าในตนเอง ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค และความสุขในการทำงานของข้าราชการกรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ นายเรืออากาศ, 7(1), 55-67.

ธัญญารัตน์ ยุวรรณะ และพวงเพชร์ วัชรอยู่. (2557). อิทธิพลของการเผชิญและฝันฝ่าอุปสรรคและการเห็นคุณค่าในตนเองต่อความผาสุกของพนักงานฝ่ายผลิตในบริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 40(1), 147–165.

นิตยา จิตรรำพัน. (2559). หลักอิทธิบาทธรรมต่อความสำเร็จและความสุขในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยบริการปฐมภูมิอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาแพทย์, 30(3), 68–177.

บุญทัน ดอกไธสง. (2540). การจัดการองค์การ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเทคโนโลยีชนบท.

ปาริชาติ ฤทธิ์ทรงเมือง. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. วารสารวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 3(1), 78-86.

สำนักพระสอนศีลธรรม. (2548). ประวัติและพัฒนาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี จำกัด.

สุวรรณา ลีละเศรษฐกุล. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคล แรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกบริหารโรงพยาบาล). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-20

How to Cite

นิยมางกูร ส., กิตฺติโสภโณ พ. . ., ชาญศิลป์ ว. ., & ทั่งโต พ. . (2021). อิทธิพลของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานการเห็นคุณค่าในตนเองและหลักอิทธิบาทธรรมที่มีต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2), 114–125. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/249537