การศึกษาปัญหาและความต้องการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย ของผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
ปัญหาผู้สูงอายุ, ความต้องการดูแลสุขภาพ, การแพทย์แผนไทยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาผู้สูงอายุและความต้องการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยในเขตเทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุในเขตตำบลบ้านดู่ 398 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามรวบรวมข้อมูลจากการลงพื้นที่สอบถามปัญหาและความต้องการในชุมชนที่บ้านโดยใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลคือร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่าปัญหาในด้านสุขภาพผู้สูงอายุมี 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ช่วยเหลือตนเองได้ 331 คน 2) กลุ่มที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ 67 คน โดยผู้สูงอายุทั้งหมดมีผู้ที่มีโรคประจำตัวร้อยละ 70.10 มีปัญหาด้านสุขภาพจิตร้อยละ 33.92 เช่น รู้สึกเหงา เครียด ปัญหาด้านสังคมมีผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ลำพังร้อยละ 10.05 และด้านเศรษฐกิจเป็นผู้มีรายได้น้อยร้อยละ 31.41 ทั้งนี้เมื่อสำรวจความต้องการของผู้สูงอายุ พบว่าต้องการปลูกสมุนไพรใช้ดูแลสุขภาพร้อยละ 55.61 การได้รับการดูแลรักษาโรคด้วยการแพทย์แผนไทยร้อยละ 39.01 ส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายร้อยละ 37.67 สอนทำยาสมุนไพรร้อยละ 21.08 และปลูกสมุนไพรเพื่อเสริมสร้างรายได้ร้อยละ 13.90 ส่วนผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ต้องการให้มีสถานที่ดูแลร้อยละ 83.67 ในการวิจัยครั้งต่อไปควรมีการศึกษาเปรียบเทียบเชิงพื้นที่เพื่อให้เห็นความแตกต่างของปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุในบริบทของชุมชนที่ต่างกัน
References
กาญจนา ดอล๊ะและคณะ. (2561). การพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุและแนวทางการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา: ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. สืบค้น 4 พฤศจิกายน 2563, จาก http://human.skru.ac.th/husoconference
จารุวรรณ สุกใสและวิมลฤดี พงษ์หิรัญญ์. (2558). ปัญหาและความต้องการสวัสดิการของผู้สูงอายุที่รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี, 20(1), 46-56.
จิณณ์ณิชา พงษ์ดีและปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2558). ปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหมืองแบ่ง ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุงจังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(4), 561-576.
ภัทรานิษฐ์ เหมาะทอง และคณะ. (2560). การกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตร Yamane. สืบค้น 4 พฤศจิกายน 2563, จาก http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic/60/Seminar/01_9_Yamane.pdf
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: บริษัท พริ้นเทอรี่ จำกัด.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). ประชากรของประเทศไทยพ.ศ. 2563. สืบค้น 4 พฤศจิกายน 2563, จาก http://pathumthani.dop.go.th/th/gallery/4/1328
สุดา หันกลาง. (2562). การดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเปราะบางในชุมชนเพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน. วารสารการพยาบาลและ สุขภาพ สสอท, 1(1), 1-17.
United Nations. (2020). World Population Ageing 2020. United Nations Department of Economic and Social Affairs.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น