ประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

ผู้แต่ง

  • อัญธิษฐา อักษรศรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, สมาชิกวุฒิสภา, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพการปฏิบัติหน้าที่ ปัจจัยตัวชี้วัดประสิทธิผล และเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 25 รูปหรือคน สนทนากลุ่มเฉพาะ 13 รูปหรือคน วิเคราะห์เนื้อหาด้วยวิธีการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญมีประสิทธิภาพและเห็นผลเป็นเอกภาพ การปฏิบัติหน้าที่ในบางเรื่องทำให้ล่าช้า การเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาโดยไม่มีการเลือกตั้งจากประชาชน ขาดความเชื่อมั่นจากประชาชน ขาดความน่าเชื่อถือจากประชาชน 2. ปัจจัยตัวชี้วัดประสิทธิผล ได้แก่ 1) การกลั่นกรองกฎหมายมีความเป็นกลาง เป็นธรรม โดยยึดหลักนิติธรรม 2) การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ 3) การประยุกต์หลักพุทธธรรม โดยการนำหลักอปริหานิยธรรม 7 ทำให้เกิดประสิทธิผล คือ 1) เกิดความสามัคคี 2) ได้ข้อตกลงที่เป็นธรรม และการได้ข้อพิจารณา ในการประชุม ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติหน้าที่ 3) ไม่บัญญัติข้อที่เป็นโทษต่อการบริหารงานเพื่อประเทศ 4) การให้เกียรตินับถือผู้ที่มีคุณวุฒิ ประสบการณ์ ผู้เชี่ยวชาญ 5) ให้สตรีมีสิทธิเสรีภาพและเสมอภาค 6) การส่งเสริมบุคคลต้นแบบ ส่งเสริมบุคคลที่ดีทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ 7) การเคารพบุคคลทำประโยชน์ให้กับสังคม

References

พรศักดิ์ จีวะสุวรรณ. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการจัดการลุ่มน้ำแม่กลอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณทิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย.

พระมหายุทธพิชัย ศิริชโย. (2561). การบริหารงานตามหลักปอหานิยธรรม. วารสารสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 7(2), 15-16.

พินิจ มีคำทอง และโกวิทย์ แสนพงษ์. (2561). เทคนิคการวิเคราะห์สภาพการพัฒนาเพื่อการวางแผนกลยุทธของสถานศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(3), 25-26.

ภูมิ มูลศิลป์. (2559). แนวคิดเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภาไทยในรอบทศวรรษ 17. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 7(1), 21-30.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ฉบับพิมพ์ตามราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พิมพ์อักษร.

วุฒิสภาประเทศไทย. (2562). ความหมายที่แท้จริงของวุฒิสภา คืออะไร. สืบค้น 12 กันยายน 2562, จาก https://senateguru.com

สถาบันพระปกเกล้า. (2560). บทบาทและอำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช. สืบค้น 12 กันยายน 2562, จากhttp://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=

สุรเดช จิรัฐิติเจริญ. (2555). บทบาทของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 : ศึกษาเปรียบเทียบสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งกับสมาชิกที่มาจากการสรรหา (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการเมือง). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกริก.

อัญธิษฐา อักษรศรี. (2563). ประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-20

How to Cite

อักษรศรี อ., อดิวัฒนสิทธิ์ จ., & สุยะพรหม ส. (2021). ประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(1), 105–115. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/247363