การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรมของฐานเรียนรู้ชุมชนบ้านท่าคอย อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ปรีดา สามงามยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุพัตรา ศรีสุวรรณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

สื่อเทคโนโลยีอัจฉริยะ, การท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม, ฐานเรียนรู้ชุมชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อเทคโนโลยีอัจฉริยะ ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะที่มีต่อสื่อเทคโนโลยีอัจฉริยะของฐานเรียนรู้ชุมชนบ้านท่าคอย อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวที่มาศึกษาเรียนรู้ในฐานเรียนรู้ชุมชนบ้านท่าคอย โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายจำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1.บอร์ดแสดงผลโปสเตอร์กลางแจ้งที่มีภาพแผนที่ชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม 2.สื่อเทคโนโลยีอัจฉริยะที่มีลิงค์เชื่อมโยงแสดงข้อมูลมัลติมีเดีย เว็บไซต์ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ คลิปวิดีโอ 3.แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อสื่อเทคโนโลยีอัจฉริยะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สื่อเทคโนโลยีอัจฉริยะโดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{X}=4.45, S.D.=0.56) 2. นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจสื่อเทคโนโลยีอัจฉริยะโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{X}=4.49, S.D.=0.60) 3. ปัญหาและข้อเสนอแนะ ได้แก่ สัญญาณอินเทอร์เน็ตบนมือถือมีความเร็วต่ำไม่เสถียรทำให้การดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นมาติดตั้งใช้งานทำได้ช้า ส่งผลทำให้การแสดงผลข้อมูลต่างๆช้าลง ข้อเสนอแนะควรมีการตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือในพื้นที่เพื่อเพิ่มความแรงของสัญญาณให้มากขึ้น

References

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้น 1 มิถุนายน 2560, จาก https://www.ubu.ac.th/web/filesup/03f2017052216244626.pdf

คมกฤช จิระบุตร และคณะ. (2560). การสร้างสื่อแผนที่ท่องเที่ยวโดยการใช้เทคโนโลยี Augmented Reality เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. ใน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17. สืบค้น 5 มิถุนายน 2560, จาก https://research.psru.ac.th/read.php?cat=ReadNews&NewsID=130

ณกฤช รัตนวงศา และคณะ. (2563). แผนที่ท่องเที่ยวแบบความจริงเสมือน กรณีศึกษา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสาระคาม, 11(1), 33-44.

นิติศักดิ์ เจริญรูป. (2560). การประยุกต์ใช้ความเป็นจริงเสริมเพื่อนำเสนอข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษา วัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 10(1), 13-30.

พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์. (2562). การส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคามโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 6(1), 8-16.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี. (2561). สถิตินักท่องเที่ยว 2561.สืบค้น15 มิถุนายน 2561, จาก https://suphanburi.mots.go.th/graphviews.php?graph_id=30

สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี. (2560). แผนพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. 2561-2564 (ฉบับทบทวน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สืบค้น 5 มิถุนายน 2560, จากhttps://ww1.suphanburi.go.th/ebook/download/?id=1108&file=files/com_ebook/2018-08_a5c4ece52843277.pdf&name=แผน+4+ปี+2561-2564.pdf

สุสุวารีย์ ศรีปูณะ และคณะ. (2558). การสร้างและพัฒนาสื่อการท่องเที่ยวประเภทเว็บไซต์เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, 10(3), 31-37.

อรรถศาสตร์ เวียงสงค์และคณะ. (2553). การพัฒนาสื่อความเป็นจริงเสมือน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 29(4), 446-455.

อารญา หลวงอี่ และ เพียงฤหัย หนูสวัสดิ์. (2562). การพัฒนาเทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการท่องเที่ยววนอุทยานปราณบุรี. ใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ครั้งที่ 4 และการประชุมระดับนานาชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ครั้งที่ 1. สืบค้น 1 ธันวาคม 2562, จากhttps://repository.rmutr.ac.th/handle/123456789/1054

อำไพ ยงกุลวณิช. (2561). การพัฒนาเอกสารแนะนำการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบเสมือนจริง หมู่บ้านปลาค้าว จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารศรีวนาลัยวิจัย, 8(2), 15-26.

Hobbs, M. & Holley, D. (2019). A Short Guide to HP Reveal: Suitable for classroom and other educational uses. Anglia Ruskin University, Bournemouth University. Retrieved March 20, 2019, from https://microsites.bournemouth.ac.uk/flie/files/2019/05/A-Short-Guide-ToHP-Reveal-1_1.pdf

Victor B., (2019). Top 5 Ideas How To Use Ar In Tourism. Hospitality and Industry Technology Exposition and Conference. Retrieved March 20, 2019, from https://www.hospitalitynet.org/opinion/4092421.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-23

How to Cite

สามงามยา ป., & ศรีสุวรรณ ส. (2020). การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรมของฐานเรียนรู้ชุมชนบ้านท่าคอย อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(4), 190–200. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/246550