การพัฒนาการนำฐานข้อมูลขนาดใหญ่มาปรับใช้เพื่อการเพิ่มประสิทธิผลการปฏิบัติงานของกรมทางหลวง

ผู้แต่ง

  • วิศิษฎ์สร เอกกิตตินันท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบการนำฐานข้อมูล, การเพิ่มประสิทธิผล, การปฏิบัติงานของกรมทางหลวง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการนำฐานข้อมูลขนาดใหญ่มาปรับใช้ 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำฐานข้อมูลขนาดใหญ่มาปรับใช้ และ 3. นำเสนอรูปแบบการนำฐานข้อมูลขนาดใหญ่มาปรับใช้สำหรับการเพิ่มประสิทธิผลการทำงานของกรมทางหลวง โดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง  430 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 17 รูปหรือคน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่มเฉพาะ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ และรูปแบบสมการโครงสร้าง การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และการพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1. มีการใช้งานฐานข้อมูลในลักษณะของการนำข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานมารวบรวมไว้เพื่อทำการใช้งาน มีการนำส่งข้อมูลให้กับระบบตามช่วงเวลาเพื่อทำการอัพเดทฐานข้อมูล 2. ปัจจัยที่มีคะแนนสูงที่สุดคือ ปัจจัยด้านอิทธิบาท 4 โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.86 รองลงมาคือ ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.67 3. รูปแบบสามารถใช้งานได้ในระดับบริหารหรือการจัดการ และสามารถนำลงไปใช้ได้กับระดับปฏิบัติการ ทำให้องค์การสามารถใช้งานฐานข้อมูลขนาดใหญ่ได้ ทั้งนี้กรมทางหลวงมีฐานข้อมูลเป็นของตนเองอยู่แล้วสามารถที่จะพัฒนาให้กลายเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่

References

กนกพรรณ ชำนาญกิจ. (2560). การประยุกต์ใช้ Big Data ในการบริหารจัดการฐานข้อมูลทางด้านการเงินการบัญชีของสหกรณ์ เพื่อยกระดับศูนย์วิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจและการเงินสหกรณ์ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กรมตรวจบัญชีสหกรณ์.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2534). 100 ปี แห่งการปฏิรูประบบราชการ : วิวัฒนาการของอำนาจรัฐและอำนาจการเมือง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผดุง วรรณทอง และคณะ. (2561). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารองค์กรเอกชนในจังหวัดนนทบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 99-110.

ยงยุทธ เกษสาคร. (2549). ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม. กรุงเทพฯ: วี เจ พริ้นติ้ง.

วิชาญ ทรายอ่อน. (2559). Big data ในภาครัฐ เอกสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สยามพร พันธไชย. (2562). รูปแบบการจัดการความรู้ตามหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาบุคลากร ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(2), 69-82.

สาครรัตน์ นักปราชญ์ และ คัคนางค์ จามะริก. (2559). การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐในรูปแบบ Business Intelligence (BI) ในยุค Big Data. วารสาร กสทช, 9(1), 553 - 560.

สุนันทา กริชไกรวรรณ. (2561). บูรณาการพุทธธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(1), 55-69.

สุบัณฑิต จันทร์สว่าง. (2562). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมความสมานฉันท์ในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(2), 57-68.

สุภางค์ จันทวานิช. (2549). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

________. (2553). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

Gulick & Luther (1937). Papers on the Science of Administration. New York: Institute of Public Administration.

Lindeman, R.H. et al. (1980). Introduction to Bivariate and Multivariate Analysis. Scott Foresman: Glenview. IL.

Weber, M. (1947). The Theory of Social and Economic Organizations. New York: Free Press.

Weiss, R. (1972). The Provision of Social Relationship. In Z. Rubin (Ed). Doing Unto others Englewood Cliff. N. J : Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-23

How to Cite

เอกกิตตินันท์ ว., สุยะพรหม ส. ., & สุขเหลือง เ. (2020). การพัฒนาการนำฐานข้อมูลขนาดใหญ่มาปรับใช้เพื่อการเพิ่มประสิทธิผลการปฏิบัติงานของกรมทางหลวง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(4), 53–63. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245899