โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิผลการบริหารงานของกรมแพทย์ทหารบก

ผู้แต่ง

  • สาธิต ทิพย์มณี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • กฤช เพิ่มทันจิตต์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, ประสิทธิผล, ทศพิธราชธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารงาน ปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ และนำเสนอโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลบริหารงานของกรมแพทย์ทหารบกที่มีประสิทธิผล การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่าง 430 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติไคสแควร์ และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 17 รูปหรือคน ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลการบริหารงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=3.95, S.D.=0.489) 2. ปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารงานของกรมการแพทย์ทหารบก ได้แก่ปัจจัยด้านการบริหารและการบูรณาการทศพิธราชธรรม ซึ่งมีอิทธิพลทางตรงร้อยละ 72 และอิทธิพลทางอ้อมร้อยละ 12  และ 3. การสังเคราะห์จากผลการวิจัย ได้แนวคิดการบริหารงานแบบมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นการบริหารงานโดยใช้หลักธรรมที่สำคัญๆ มาเป็นแนวทางในการบริหารงาน ได้แก่ ความยุติธรรม ความซื่อสัตย์ เพียรพยายาม และการเสียสละ หรือโดยรวมเรียกว่า หลัก JHAS ซึ่งหากการบริหารงานยึดถือปฏิบัติตามหลักธรรมดังกล่าวแล้วจะทำให้ การบริหารงานขององค์กรนั้น ประสบผลสำเร็จ อีกทั้งยังเป็นเกราะป้องกันในการกระทำผิดกฎหมายด้วย

References

กรมแพทย์ทหารบก. (2560). บันทึกข้อความ ที่ กห 0446.15/327 ลง 9 ส.ค. 60. เรื่อง ขออนุมัติยุทธศาสตร์ กรมแพทย์ทหารบก พ.ศ.2560 – 2564.

กองยุทธการและการข่าว กรมแพทย์ทหารบก. (2562). ภารกิจการจัดหน่วยกรมแพทย์ทหารบก. สืบค้น 12 ธันวาคม 2562, จาก http://www.amed.go.th/2013-06-20-07-01-33.

กองยุทธศาสตร์ กรมแพทย์ทหารบก. (2562). แผนยุทธศาสตร์ กรมแพทย์ทหารบก. สืบค้น 12 ธันวาคม 2562, จาก http://www.amedstgy.com/strategicmap

ณัฐปราย์ ชัยสินคุณานนต์. (2561). การบริหารงานเชิงกลยุทธ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขต อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(3), 260 – 272.

ถนัด ไชยพันธ์. (2561). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมประสิทธิผล ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(3), 76 – 89.

ปกรณ์ มหากันธา. (2559). รูปแบบและกระบวนการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเชิงพุทธบูรณาการ (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเมธีธรรมาจารย์ (ประสาร จนฺทสาโร). (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการพัฒนานักบริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(3), 147 – 162.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2539). คุณธรรมสำหรับนักบริหาร. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พุทธทาสภิกขุ. (2549). ทศพิธราชธรรม. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุนทรี สุริยะรังษี. (2560). การศึกษาแนวคิดและวิธีปฏิบัติของเครือข่ายบัณฑิตอาสาในภาคเหนือ (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.

สุนันทา สุเทศ. (2561). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลการพัฒนาองค์การและบุคลากรของ โรงเรียนนายร้อยตารวจ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(3), 178 – 192.

Fayol, H. (1930). Industrial and General Administration. New York: Mc-Grew Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-22

How to Cite

ทิพย์มณี ส., เพิ่มทันจิตต์ ก., & สุยะพรหม ส. . (2020). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิผลการบริหารงานของกรมแพทย์ทหารบก. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(4), 40–52. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245800