การพัฒนารูปแบบการนิเทศติดตามและประเมินความสามารถในการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

ผู้แต่ง

  • เกศนีย์ พิมพ์พก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ฤตินันท์ สมุทร์ทัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เกียรติสุดา ศรีสุข มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การนิเทศติดตามและประเมิน ความสามารถในการวิจัย,นักศึกษาฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครู

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการนิเทศติดตามและประเมินความสามารถในการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู          และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศติดตามและประเมินความสามารถในการวิจัย                  เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนารูปแบบ โดยการนำข้อมูลสภาพ ปัญหา               ความต้องการและผลการสังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี มาพัฒนารูปแบบและได้รับการตรวจสอบคุณภาพ  โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา และขั้นตอนที่ 2 ศึกษาผลการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์นิเทศก์ทั่วไป จำนวน 9 คน อาจารย์นิเทศก์สาขา จำนวน 10 คนและครูพี่เลี้ยง จำนวน 40 คน ที่มีความ เต็มใจสมัครเข้าร่วมโครงการ รวมถึงนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 40 คนที่ได้            มาจากการสมัครใจของอาจารย์นิเทศก์และครูพี่เลี้ยงและนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้               จากนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 257 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน จำนวน 3 ฉบับ และแบบสอบถาม             ความคิดเห็นต่อรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์เนื้อหา

  ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการนิเทศติดตามและประเมินความสามารถในการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ทิศทางการพัฒนาความสามารถในการวิจัย องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการพัฒนาความสามารถในการวิจัยและองค์ประกอบที่ 3 การประเมินผลการพัฒนาความสามารถในการวิจัย ซึ่งพบว่ามีคุณภาพด้านอรรถประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 2) ความสามารถในการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของนักศึกษา             ผ่านเกณฑ์คุณภาพในระดับดีถึงดีมาก โดยงานวิจัยของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู          สามารถพัฒนานักเรียนได้ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยเฉลี่ยร้อยละ 94.48 ส่วนความคิดเห็น             ต่อรูปแบบ โดยภาพรวมอาจารย์นิเทศก์ทั่วไป อาจารย์นิเทศก์สาขาและครูพี่เลี้ยง มีความเห็นว่ารูปแบบมีอรรถประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความถูกต้องในระดับมาก

References

Boonchom Srisa-ard .(2535). The Measurement and Evaluation Research. Srinakharinwirot Mahasarakham University.
Chakkrawan Sukmaitree. (2558). The Model of Human Resource Development Based on Buddhist Ethics in Higher Education. Journal of MCU Social Science Review, 4(1), 238-252.
Chatree Girdtham. (2545). Want to do classroom research, can’t do. Bangkok : Digital Learning Co., Ltd.
Clarke, Doug. (1994). Ten Key Principles From Research for The Professional
Develovment of Mathmatics Teachers in Professional for Teacher of
Mathematics. 1944 Year Book. Virginia: The National Council of Teacher
of Mathematics.
Glickman, C.D., Gordon, S.P., and Ross-Gordon, J.M. (2010).Supervision and Instructional Leadership: Developmental Approach. 8th ed. Boston : Allyn and Bacon,Inc.
Hamel, Christine. (2012). “Supervision of Pre-service Teacher: Using Internet Collaborative Tools to Support Their Return to Their Region of Origin.” Canadian Journal of Education, 35(2), 141-154.
Hord, Shirley M. and others. (1987). Taking Charge of Change. Alexandria Va.:
Association for Supervision and Curriculum Development.
Kanitha Ghaowatthanakun. (2553). The Development of a Mentoring Model for Enhancing Competency in Teaching and Conducting Classroom Action Research for Pre-Service (Mathematics Teachers). Department of Curriculum and Instruction Graduate School Silpakorn University.
Kietsuda Srisook et.al. (2550). Studies on Appropriate Model of Teaching Profession Program. Faculty of Education, Chiang Mai University.
Knowles, M.S. (1980). The modern practice of adult education: From pedagogy to pedagogy. New York : Cambridge, The Adult Education Company.
Kriangsak Sungchai. (2552). The Development of Science Teachers'instructional Supervision Model for Developing Academic Capabilities of Science Talented Students. Department of Curriculum and Instruction Graduate School Silpakorn University.
Nattachai Sirithanee and Sirikarn Zibkae. (2556). SOCIAL NETWORK. Bangkok: Inspal Co., Ltd.
Nirundorn Kakkaew. (2560). The Supervision Model for Classroom Action Research Operation of Teachers in Khonkaen Primary Educational Service Area 1 Journal of MCU Social Science Review, 6(1), 81-90.
Nonglak Wiratchai .(2547). The Research for Learning Development : Action Research for Teacher. Bangkok : Chulalongkorn University Press.
Office of The Higher Education Commission.(2551). Higher Education Framework 15 years N0 2 (2551-2565). Bangkok : Chulalongkorn University Press.
Paitoon Sinlarat. (2543).The Development of Learning Process of Graduate School. Bangkok: Arun Printing Co., Ltd.
Pinsuda Siritharungsri. (2552). The future thai education image 10-20 years.
Bangkok : Policy & education planning institute, office of the education council.
Preeyaporn Wonganuttararot. (2548). The Supervision. Bangkok : Bangkok Media Center, Pimdee Co., Ltd.
Preut Siribanpithak. (2546). Research Report for Input Reform and Teachers, Instructor and Educational Presume Development Policy. Bangkok: Office of the higher education.
Secretariat office of The Teachers Council (2552). The Development of Learning Guideline for Learning Work-Integrated. Bangkok : Prikwan graphic Co., Ltd.
Sparks, Dennis and Louks - Horley, Susan. (1990). Five Model of Staff Development for Teachers. Journal of Staff Development 10(4) : 40 –57.
Stephens, Carrie Ann and Randol Waters. (2009). “The Process of Supervision with Student Teacher Choice: A Qualitative Study.” Journal of Agricultural Education, Volume 50, Number 3, pp. 89-99.
Suwimon Wongwanit.(2555). The Action Research in Classroom.16st Bangkok : Chulalongkorn University Press.
Swanson, R. A. & Holton, E. F. (2001). Foundations of human resource
development. San Francisco: Berrett-Koehler.
Tai Xiang Chi. (2549). Hand of the course PAP-705 Project Evaluation. North-Chiang Mai University.
Tanee Chukamrerd. (2558). LIP Model: Learning Innovation Process for Sustainable Development. Journal of MCU Social Science Review, 4(3), 185-196.
Watchara Laoriendee. (2541). Hand of the course 462412 Instructional Supervision. Faculty of Education, Silpakorn University.

เผยแพร่แล้ว

2020-08-02

How to Cite

พิมพ์พก เ. . ., สมุทร์ทัย ฤ. . ., ภู่วิภาดาวรรธน์ ส. . ., & ศรีสุข เ. (2020). การพัฒนารูปแบบการนิเทศติดตามและประเมินความสามารถในการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(3), 172–186. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245661