มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและส่งเสริมสัตว์เลี้ยงในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พิทักษ์พงษ์ ชัยคช มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • ศิริพงษ์ โสภา มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

มาตรการทางกฎหมาย การควบคุม การส่งเสริม สัตว์เลี้ยง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพปัญหาข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับ 1.การซื้อขายสัตว์เลี้ยงเป็นอาชีพหนึ่งที่มีคนนิยม โดยเฉพาะสุนัข แมว กระต่าย หนูตะเภา เป็นต้น 2. ปัญหาสัตว์เลี้ยงถูกปล่อยทิ้งปล่อยขว้าง  ขาดการดูแลเอาใจใส่ ซึ่งส่งผลก่อให้เกิดปัญหาของสังคม สัตว์เลี้ยงกลายเป็นสัตว์จรจัด อย่างเช่น สุนัข และแมว 3. ปัญหาสัตว์เลี้ยงสร้างความรำคาญให้กับบุคคลอื่น  เช่น ส่งเสียงดัง   ถ่ายมูลหน้าบ้านผู้อื่น  4. ปัญหาสัตว์เลี้ยงจำพวกหรือประเภทที่ดุร้ายไปทำร้ายบุคคลอื่น

            ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาโดยสัมภาษณ์ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 4 กลุ่ม หลักๆได้แก่ กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มตัวอย่างจากประชาชนหรือประชาชนผู้เลี้ยงสัตว์เลี้ยง  กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มตัวอย่างจากองค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง 3 คือ กลุ่มตัวอย่างของผู้มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย  กลุ่มที่ 4 คือ นักวิชาการ อัยการ ผู้พิพากษาและอาจารย์ทางด้านกฎหมาย พบว่าประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมและส่งเสริมสัตว์เลี้ยงแต่มีพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยง ดังนี้ พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 แต่ไม่ได้บัญญัติหมวดที่ว่าด้วยมาตรการควบคุมและส่งเสริมสัตว์เลี้ยง และบทลงโทษกำหนดไว้

          ประเทศไทยเป็นประเทศนับได้ว่ามีความเมตตาปราณีซึ่งกันและกันจึงจำเป็นต้องมีมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมและส่งเสริมสัตว์เลี้ยง โดยผู้เลี้ยงสัตว์ต้องขึ้นทะเบียนและทำประวัติสัตว์ทุกตัว มีการควบคุมจำนวนการเลี้ยง ซึ่งควรมีการเก็บภาษีสัตว์เลี้ยง ทั้งนี้มาตรการการลงโทษทางกฎหมายต้องบังคับใช้อย่างจริงจัง ดังนั้นประเทศไทยบัญญัติมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและส่งเสริมสัตว์เลี้ยง ไว้ให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม เพื่อให้ผู้เลี้ยงสัตว์เลี้ยงได้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ไม่ปล่อยสัตว์เลี้ยงของตนไปสร้างความรำคาญต่อผู้อื่น

References

Emanuel,Steven L. (1984). Torts Casebook Edition Keyed to Prosser,Wade& Schwartz,Torts.7th . NewYork: Emanuel Law Outlines.
Sanor Unakul. (2556).Technocrat Power: Through the Life and Work of
Sanor Unakul. Bangkok: Matichon Press.
Tawindee Burikul (2552). Local Good Governance: Lessons from Abroad. Bangkok: Dhammada Press.
Thitiwut Manmi. (2559). The Human Capital Management Supporting The Merit and Ethicist of Staffs In Local Administration Organization. Journal of MCU Social Science Review, 5(2), 425 – 442.

เผยแพร่แล้ว

2020-08-02

How to Cite

ชัยคช พ. . ., & โสภา ศ. . . (2020). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและส่งเสริมสัตว์เลี้ยงในประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(3), 137–145. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245658