การนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารงาน เทศบาลนครสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
การนำไปใช้ หลักธรรมาภิบาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารงานเทศบาลนครสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นบุคลากรในสำนักงานเทศบาลนครสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ได้แก่ ฝ่ายผู้บริหารเทศบาล ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี และรองนายกเทศมนตรี ฝ่ายสภาเทศบาล ได้แก่ ประธานสภาเทศบาล รองประธานสภา และสมาชิกสภาเทศบาล ฝ่ายข้าราชการประจำ ได้แก่ ปลัดเทศบาล รองปลัดเทศบาล และหัวหน้ากองทุกกอง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา
ผลจากการศึกษา พบว่า
- เทศบาลนครสมุทรสาครเพิ่มการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและทัศนคติในทางบวกเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลแก่บุคลากร เพราะหากบุคลากรภายในเทศบาลมีความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติในทางบวกต่อการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติในการทำงาน การบริการประชาชนในเขตเทศบาลจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- การจัดทำโครงการหรือแผนการอบรมและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาล เทศบาลนครสมุทรสาคร ควรจัดทำให้มีความแตกต่างกันออกไปตามระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ตลอดจนฝ่ายและหน่วยงานที่สังกัดของบุคลากรที่จะเข้ารับการอบรมและพัฒนา โดยเน้นความรู้ความเข้าใจในขั้นบูรณาการหลักธรรมาภิบาลเข้ากับการปฏิบัติงานตลอดจนการพัฒนาเพื่อยกระดับธรรมาภิบาลในเทศบาลนครสมุทรสาครให้สูงขึ้น อันจะทำให้การทำงานเพื่อรับใช้ชุมชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับของประชาชน และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมต่อไป
- เทศบาลนครสมุทรสาคร ควรจัดทำโครงการหรือแผนงานในการนำหลักธรรมาภิบาลทั้ง 6 ข้อ ไปปฏิบัติอย่างมีระบบและเป็นรูปธรรม จากผลการศึกษาความต้องการธรรมาภิบาล ควรเน้นการส่งเสริมธรรมาภิบาลในด้านหลักความเป็นธรรม (Equity) หลักความโปร่งใส(Transparency) และหลักความรับผิดชอบ (Responsibility) เพื่อให้การนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความเข้มข้นและสอดคล้องกับสภาพการณ์ของเทศบาลนครสมุทรสาครมากที่สุด
References
Department of Community Development. (2549). Handbook for Application of Sufficiency Economy Philosophy in Family to Increase Family Income. Bangkok: Office of Community Enterprise, Ministry of Interior.
Issara Tavorn. (2557). Study of Good Governance and Result-Based Budgetting System According to the Strategy of Naval Academy (Master of Public Administration Thesis). Burapa University.
Nakornpatom Municipality. (2557). Research Report on People Satisfaction towards Services of Nakornpatom Municipality, Muang District, Nakornpatom Province, Nontaburi: Nakornpatom Municipality.
Panu Santidham. (2557). Study of Governance in Banna Sub-District, Banna District, Nakornnayok ( Master of Public Administration Thesis). Krirk University
Pittaya Borwornpattana. (2547). Public Administration: Theories and Study Appraoches (1887-1970). 11th edition. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Suwat Tasanajit. (2556). Work Performance according to Good Governance of Samrantai Sub-District Administrative Organization. Kalasin Province: Rajabhat Mahasarakam University
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น