การบูรณาการภาครัฐและพลังชุมชนภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • อภิชิต ดวงธิสาร วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • ธวัฒน์ เขตจัตุรัส วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • ดิเรก ถึงฝั่ง วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

การบูรณาการจัดการภาครัฐ, ความเข้มแข็งของชนชน, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของอำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาอุปสรรค และแนวทางการจัดการเรื่องการบูรณาการการจัดการภาครัฐกับชุมชนสู่ความเข้มแข็งภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม พบว่า ในส่วนบริบทของชุมชนในปัจจุบันภาครัฐเข้ามาบูรณาการให้การสนับสนุน ให้ความรู้ ให้คำแนะนำ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคต่อการเพิ่มขีดความสามารถชุมชนภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 1) ขาดการสนับสนุนในด้านระบบฐานข้อมูลข่าวสาร 2) ขาดการสนับสนุนในด้านการถ่ายทอดความรู้และการจัดการความรู้ 3) ขาดการสนับสนุนในด้านระบบความสัมพันธ์และความเอื้ออาทร (4) ขาดจิตสำนึกเพื่อประโยชน์ส่วนรวม จิตสาธารณะ ส่วนแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถชุมชนภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ 1) แนวทางด้านการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง 2) แนวทางด้านการปรับปรุงฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม 3) แนวทางด้านการดำรงอยู่อย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน (4) การจัดตั้งศูนย์เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ชุมชน 5) ศักยภาพขององค์กรชุมชนท้องถิ่น 6) ความร่วมมือทุกภาคส่วน 7) การมีส่วนร่วม 8) การจัดการเครือข่ายความรู้

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

กัญญารัตน์ กิ่งก่ำ. (2555). ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านม่องหินแก้ว ตำบลวังพร้าว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2550). ธุรกิจชุมชนเส้นทางที่เป็นไปได้. กรุงเทพฯ: บรัท เอ็กเปอร์เน็ทจำกัด.

นภาภรณ์ หะวานนท์ และคณะ. (2550). ทฤษฎีฐานรากในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย 6 สกว. 7.

นเรศ สงเคราะห์สุข. (2541). จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. เชียงใหม่ : สำนักงานโครงการพัฒนาที่สูงไทย–เยอรมัน.

ไผท วงศ์อนุตรโรจน์. (2544). กระบวนการสร้างและพัฒนาเครือข่ายทางสังคม : กรณีศึกษาบ้านหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พลเดช ปิ่นประทีป. (2542). สู่ความเป็นไทยด้วยพลังของท้องถิ่นข้อเสนอกรอบแนวคิดเพื่อจัดแผนฯ 9. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

วรวุฒิ อินทนนท์. (2556). สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน ปฏิบัติการในชีวิตประจำวันของชุมชนกับความเป็นสาธารณะ (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์) อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2550). การบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน. รัฐสภาสาร, 55, 29-34.

วิทยา จันแดง. (2555). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบน (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สาวิณี รอดสิน. (2554). ชุมชนเข้มแข็ง : กรณีศึกษาบ้านปางจำปี ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ฮอด จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เสรี พงศ์พิศ. (2552). วิถีสู่ชุมชนพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พลังปัญญา.

________. (2554). เศรษฐกิจพอเพียง เกิดได้ถ้าใจปรารถนา. กรุงเทพฯ: เทียนวรรณ.

เสน่ห์ จามริก. (2527). นโยบายกลวิธีการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ร่างยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี. สืบค้น 20 กันยายน 2560, จาก www.nesdb.go.th

อภิชิต ดวงธิสารและอนันต์ เกตุวงศ์. (2560). การจัดการเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน จังหวัดชัยภูมิ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 347-358.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-26

How to Cite

ดวงธิสาร อ., เขตจัตุรัส ธ., & ถึงฝั่ง ด. (2020). การบูรณาการภาครัฐและพลังชุมชนภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(3), 173–186. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245574