การปฎิรูปกิจการพระพุทธศาสนา

Authors

  • Suthee Wirabundit คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • Phra Maha Sunan Suntho คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • Prasert Thilao คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Keywords:

การปฎิรูป, กิจการพระพุทธศาสนา

Abstract

ภายใต้กระแสธารของการปฏิรูปของ “รัฐ” ไทย ที่พยายามเพื่อเสนอ “ธง” กลไกช่องทาง หรือทางออกเพื่อไปสู่การแก้ปัญหา หรือพัฒนาสังคมประเทศชาติในองค์รวม กระแสหนึ่งที่
เกิดขึ้นคาถามที่ถูกลงมากลางวงองค์กร “ศาสนา” ว่าจะมีแนวทางปรับ หรือปฏิรูปตัวเองอย่างไร ?เมื่อคาถามดังกล่าวถูกเสนอกสู่สาธารณะ มีกระแส วิพากษ์วิจารณ์กันมากขึ้นในวงกว้าง ผลก็คือการปรับท่าทีตามรัฐ ทั้งกรณีเรื่องการบริหารองค์กรที่ผูกขาด ขาดความโปร่งใสที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งปัญหาพระธรรมวินัยและการไม่ปฏิบัติตาม หรือตีความเกินกว่าความเป็นจริงนอกเหนือพระธรรมวินัย ผลก็คือเมื่อมีคาถาม แนวคิดเชิงวิพากษ์ โต้แย้ง ต่อการปรับตัวขององค์สงฆ์ภายใต้สถานการใหม่จึงเกิดขึ้น การถามหาความจริงที่บกพร่องเพื่อนาไปสู่การแก้ไข (ปฏิรูป) จนกลายเป็น“วิวาทะ” ทางสื่ออย่างที่ปรากฏในช่วงเวลาหนึ่ง การถามหาคุณค่าแท้เพื่อนาไปสู่การปรับเปลี่ยนเพื่อพัฒนาเป็นเป้าหมายสาคัญ สภาพการณ์นั้นทาให้ “คนใน”ต้องหันกลับมาถามตัวเองว่าเราจะไปทางไหนภายใต้กระแสการปฏิรูป หนังสือเรื่อง “การปฎิรูปกิจการพระพุทธศาสนา” ของพระพรหมบัณฑิต ที่เกิดขึ้นจากการถูกตั้งคาถาม และนี่คือคาตอบ แต่เป็นคาตอบในที่ประชุมผู้บริหารระดับสูงและระดับกลางของคณะสงฆ์ ที่ปาฐกถาบรรยายพิเศษโดยพระพรหมบัณฑิต ในมิติของคนในศาสนา และกรรมการมหาเถรสมาคม ทั้งยังเป็นนักการบริหารการศึกษา ในหน้าที่ของอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงฆ์ของคณะสงฆ์ไทย ซึ่งได้รับนิมนต์ไปถวายความรู้นาเสนอประเด็นชี้ช่องทางในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ ในที่ประชุมพระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัดและผู้อานวยการสานักงานพระพุทธศาสนาประจาจังหวัดทั่วประเทศ ที่มหาเถรสมาคมและสานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจัดขึ้น ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน๒๕๕๘ ในคาบรรยายนี้มีการกล่าวถึงสาเหตุที่มาของกระแสการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาและแผนการดาเนินการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาตามภารกิจ ๖ ด้าน (น.๖) ของคณะสงฆ์ที่สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เคยเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ดังนั้นหนังสือนี้จึงเป็นการรวมแนวคิดปาฐกถาของพระพรหมบัณฑิต ซึ่งสะท้อนให้เห็น “แสง” ที่ปลายอุโมงค์ของการ “ปฏิรูป”ที่เริ่มโดยคนในองค์กรศาสนาเอง โดยมีเป้าหมายเป็น “สิ่งที่ดีกว่า” ตามเจตนารมณ์ที่ภาครัฐกาลังดาเนินการอยู่ คือการปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ซึ่งมีศาสนาเป็นแก่นแกนของสังคมรวมอยู่ด้วย และควรต้องปฏิรูปในสถานการณ์ของการเปลี่ยนผ่านนี้ด้วยเช่นกัน

References

ชาญณรงค์ บุญหนุน, [ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร]. การปฏิรูปพุทธศาสนาในประเทศ
ไทย (๑): ว่าด้วยภูมิหลังทางความคิดของการปฏิรูป, สืบค้นเมื่อ ๒๐ กรกฎาคม
๒๕๕๙, ที่มาออนไลน์ : http://www.prachatai.com
นิธิ เอียวศรีวงศ์,ประมวล เพ็งจันทร์. การปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร
: กองทุนรักษ์ธรรมเพื่อการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา,๒๕๔๓.
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), การปฏิรูปกิจารพระพุทธศาสนา. พระนครศรีอยุธยา :
เทียนวัฒนาพริ้นท์ติ้ง. ๒๕๕๘.
พระไพศาล วิสาโล, พระพุทธศาสนาไทยในอนาคตแนวโน้มและทางออกจากวิกฤติ.
กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโกมล คีมทอง. ๒๕๕๕.
พระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี (มากคล้าย),การปฏิรูปโครงสร้างคณะสงฆ์ไทย อย่าให้เทียน
ดับที่ปลายอุโมงค์?, สืบค้นเมื่อ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๙, ที่มาออนไลน์ :
http://www.prachatai.com/journal/2015/03/58269
พระศรีคัมภีร์ญาณ (สมจินต์ สมฺปาปญฺโญ), “ความเข้มแข็งของสถาบันสงฆ์ ปริมาณหรือคุณภาพ”,
ในสารนิพนธ์บัณฑิต : Buddhist Graduates, Dessertation ประจาปี ๒๕๕๖.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๕๖.

Downloads

Published

2016-12-20

How to Cite

Suthee Wirabundit, Suntho, P. M. S., & Thilao, P. (2016). การปฎิรูปกิจการพระพุทธศาสนา. Journal of MCU Social Science Review, 5(3), 342–352. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245570