การสร้างและพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น: เรื่องเครื่องมือจับสัตว์น้าในเขตเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
Keywords:
หลักสูตร จับสัตว์น้า จังหวัดขอนแก่น ท้องถิ่นAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเป็นมา สภาพปัจจุบันและปัญหาของการดาเนินงานหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี จังหวัดขอนแก่น
รวมทั้ง สร้างและพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเครื่องมือจับสัตว์น้าในเขตเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่นเครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสารวจ แบบสังเกต แบบสอบถาม แบบ
สัมภาษณ์ แบบประเมิน แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเริ่มปรากฏขึ้น
เมื่อมีการประกาศใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช2533) และได้มาปรากฏชัดเจนเมื่อประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 ซึ่งแม้ว่าจะไม่มีการบัญญัติศัพท์คาว่า“หลักสูตรท้องถิ่น” อย่างชัดเจน แต่ในมาตรา 27 ได้ชี้ชัดว่าการกาหนดหลักสูตรให้สอดคล้องกับ
ท้องถิ่นนั้นเป็นสภาพบังคับของกฎหมายที่โรงเรียนโดยเฉพาะในภูมิภาคต้องจัดให้มีขึ้นควบคู่กับหลักสูตรแกนกลาง สภาพปัญหาพบว่า การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรท้องถิ่นมุ่งเน้นการ
เตรียมนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน เนื้อหาสาระขาดความหลากหลายไม่สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนและชุมชนท้องถิ่น ครูมีไม่ครบตามกลุ่มสาระและมีหน้าที่
อื่นรับผิดชอบทาให้ขาดการเอาใจใส่การจัดการเรียนการสอน การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารโรงเรียนและงบประมาณที่ได้รับอย่างจากัดทาให้การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรท้องถิ่นไม่บรรลุตาม
วัตถุประสงค์ การเรียนร่วมระหว่างนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้กับนักเรียนปกติครูต้องควบคุมดูแลเอาใจใส่ เป็นพิเศษ ผู้ปกครองและผู้นาชุมชนไม่แน่ใจว่าหลักสูตรท้องถิ่นจะทาให้
นักเรียนมีพัฒนาการ ทางการเรียนดีขึ้นได้ เนื้อหาสาระไม่ได้ใช้ในการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การสร้างและพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง เครื่องมือจับสัตว์น้าในเขตเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาหลักสูตร ขั้นตอนที่ 2 เป็น
การทดลองใช้หลักสูตรโดยมีการกาหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ทดลองใช้หลักสูตร กับกลุ่มตัวอย่าง และประเมินระหว่างทาการทดลอง ส่วนขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลการใช้หลักสูตร
และเผยแพร่มีการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยสรุปการสร้างและพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นนอกจากจะทาให้ได้เรียนรู้วิถีทามาหากินแล้ว ยังส่งผลให้ชุมชนเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และตระหนักในคุณค่าทรัพยากรสัตว์น้าที่หล่อเลี้ยงชีวิต สมาชิกในสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
References
home economics and technology department, according to the 2008
National Curriculum. Bangkok: Printing House of the National
Cooperatives and Agriculture Community.
Cheuratanapong, J. (1997). Curriculum development: Foundations and methods.
Bangkok: Aleen Press.
Chompulong, N. (1999). Creation and development of a curriculum using local
traditional knowledge in the careers department. Mahasarakham:
Mahasarakham University Press.
Hewison, K. (1999). Localism in Thailand: A study of globalisation and its
discontents. Coventry: University of Warwick
Kuper, A. (1973). Anthropology and Anthropologists: The Modern British School.
London: Penguin.
Ministry of Education (2002). Foundation education curriculum, 2001. Bangkok:
Ministry of Education.
Parsons, T. (1954). Essays in sociological theory. New York, NY: The Free Press.
Radcliffe-Brown, A.R. (1940). On social structure. Journal of the Royal
Anthropological Institute of Great Britain and Ireland, 70(1): 3.
Srisa-art, B. (2003). Development of the curriculum and research about the
curriculum. Bangkok: Suweereeyasarn.
Vygotsky, L. S. (1978). Mind in society: The development of higher psychological
processes. Cambridge, MA: Harvard University Press.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
In order to conform the copyright law, all article authors must sign the consignment agreement to transfer the copyright to the Journal including the finally revised original articles. Besides, the article authors must declare that the articles will be printed in only the Journal of MCU Journal of Social Sciences. If there are pictures, tables or contents that were printed before, the article authors must receive permission from the authors in writing and show the evidence to the editor before the article is printed. If it does not conform to the set criteria, the editor will remove the article from the Journal without any exceptions.