การอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของการเรียนรู้

ผู้แต่ง

  • ภิญโญ ภู่เทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้าน, การอนุรักษ์และพัฒนา, การเรียนรู้

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อรวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านของจังหวัดนครสวรรค์ และ ๒) เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านของจังหวัดนครสวรรค์
โดยใช้ชุมชนเป็นฐานของการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ และกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจนเกิดพัฒนาการทาให้ประชาชนกลายเป็นูู้วิจัยเอง ทั้งเป็นเป้าหมายของการวิจัยและเป็นูู้รับูลประโยชน์ของการวิจัยด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มูู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย พ่อเพลงแม่เพลงูู้นาท้องถิ่นและประชาชนในชุมชน เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของการเรียนรูู้ลการศึกษาพบว่า เพลงพื้นบ้านในนครสวรรค์ที่ยังคงมีการละเล่นอยู่ในปัจจุบันได้แก่ เพลงพื้นบ้านตาบลเขาทอง เพลงพื้นบ้านตาบลหนองกลับ และเพลงพื้นบ้านตาบลเนินศาลาประเภทของเพลงพื้นบ้านแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ได้แก่ ๑) เพลงในช่วงเทศกาลงานบุญ ๒) เพลงในช่วงเทศกาลเพาะปลูก ๓) เพลงในช่วงเทศกาลเก็บเกี่ยว และ ๔) เพลงร้องหรือเล่นทั่วไปไม่จากัดเทศกาล สาหรับการอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของการเรียนรู้พบว่า กลุ่มเด็กนักเรียนประถมศึกษา นักศึกษา และกลุ่มเยาวชนในชุมชนได้รับการถ่ายทอดเทคนิคการตีกลองยาว และการร้องเพลงพื้นบ้านด้วยการสาธิต การสอน และการบอกเล่าโดยตรงจากปราชญ์ชาวบ้าน อย่างไรก็ตาม กลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาและกลุ่มบุตรหลานได้รับการถ่ายทอดที่เหมือนกันในเรื่องของความเชื่อของกลองยาวและเพลงพื้นบ้าน ทั้งนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครวรรค์ได้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน เพื่ออนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน จัดให้มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน (กลองยาว) นอกจากนี้ได้มีการนาเอาวัฒนธรรมดนตรีสากลมาร่วม

References

ปิยพันธ์ แสนทวีสุข และคณะ. “การอนุรักษ์พัฒนาและเูยแพร่ดนตรีและศิลปะการแสดงพื้นบ้าน
อีสานเชิงธุรกิจ”. งานวิจัย. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ๒๕๔๕.
สุกัญญา สุจฉายา. เพลงปฏิพากย์ : บทเพลงแห่งปฏิญาณแห่งชาวบ้านไทย. กรุงเทพมหานคร :
สานักคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติล, ๒๕๒๕.
สุชาติ แสงทอง. การวิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรีเพลงราโทน. นครสวรรค์ : สถาบันราชภัฏ
นครสวรรค์, ๒๕๔๙.
ธิดารักษ์ ลือชา. “การจัดทาแนวทางการอนุรักษ์ดนตรีตุ๊บเก่ง จังหวัดเพชรบูรณ์”. วารสาร มจร
สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๖.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-20

How to Cite

ภู่เทศ ภ. (2016). การอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของการเรียนรู้. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(3), 233–242. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245560