พุทธจิตวิทยาบูรณาการ : แนวคิดและการสร้างตัวแบบเพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตาย ของวัยรุ่นในสังคมสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • สิรวัฒน์ ศรีเครือดง ภาควิชาพุทธจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธจิตวิทยาบูรณาการ, การฆ่าตัวตายของวัยรุ่นในสังคมสังคมไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสค์เพื่อศึกษา ) แนวคิดและบูรณาการหลักพุทธจิตวิทยาในการลดอัตราการฆ่ตัวตายตามแนวพระพุทธศาสนา ๒) บูรณาการและพัฒนาตัวแบบหลักพุทธจิตวิทยในการลดอัตราการฆ่ตัวตายของวัยรุ่นในสังคมไทย และ ๓) สร้างตัวแบบพุทธจิตวิทยาบูรณาการในการลดอัตราการฆ่ตัวตายของวัยรุ่นในสังคมไทย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ ๑ แจกแบบสอบถาม จำนวน ๔๐๐ ชุด คัดเลือกด้วยการสุ่มแบบเจาะจง คัดเลือกจังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นตัวแทนของภาคกลาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นตัวแทนภาคเหนือ จำนวน ๒ โรงเรียน ๒ มหาวิทยาลัย ได้แก่ นักเรียน ผู้บริหาร ผู้อำนวยการ คณาอาจารย์ และผู้บริหารดับรองคณบดี และนิสิต โรงเรียนเตรียมอุดมน้อมเกล้า โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ จุฬาลกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยพายัพ กลุ่มที่ ๒สมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน ด๘ รูป/คน ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและใกล้ชิดกับผู้พยายามฆตัวตาย ในจังหวัดลำพูน และจังหวัดนครสวรรค์ โดยการเลือกแบบเจาะจ ได้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๒๐ รูป/คน กลุ่มที่ ๓ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสนทนากลุ่ม (FocusGroup Discusson) ของผู้เชี่ยวชาญ ๒ ครั้ง จำนวน ๑๘ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามความคิดเห็น (Questionnaires) แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่มผลการวิจัยพบว่า สร้างตัวแบบพุทธจิตวิทยาบูรณาการในการลดอัตราการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นในสังคมไทย ตัวแบบพุทธจิตวิทยาบูรณาการในการลดอัตราการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นในสังคมไทย มืองค์ประกอบที่สำคัญ ๕ องค์ประกอบ มีรายละเอียด ดังนี้ องค์ประกอบที่ ๑. ป่จจัยสาเหตุการฆ่ตัวตายของเยาวชนหรืวัยรุ่นไทย ประกอบด้วย ๖ ปัจจัยสำคัญ คือ ๑. ด้านด่านิยมสมัยใหม่ ๒. ด้านสภาพศรษฐกิจในครอบครัว ๓ ด้านสุขภาพ กาย-จิต ๔. อุปนิสัยส่วนตัวความสัมพันธ์ในครอบครัว และ ๖. การคบเพื่อน/ความรัก องค์ประกอบที่ ๒. หลักพุทธธรรมที่สามารถโน้มนำมาป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่ตัวตาย คือ หลักธรรม อริยสัจ ๔ และ มรรคมีองค์๘ องค์ประกอบที่ ๓. หลักจิตวิทยาเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่ตัวตาย คือ หลักการให้คำปรึกษาแนะนำ และหลักกระบวนการจิตบำบัด องค์ประกอบที่ ๔. แนวคิดเพื่อการจัดการปัญหาการฆ่ตัวตายของวัยรุ่นไทย ประกอบด้วย แนวคิด ชิงป้องกันและแก้ไขที่สาเหตุ แนวคิดการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต แนวคิดการป้องกันผ่านครอบคร้ว +ชุมชน+วัด + โรงเรียน (ดชวร)แนวคิด การสร้างภูมิคุ้มกันชีวิต ผ่นกลุ่มเพื่อน และองค์ประกอบที่ ๕. กลุ่มพลัง "การมีส่วนร่วม"ประกอบด้วย ๑. ครู/ผู้บริหารสถานศึกษา ๒. กลุ่มเพื่อน ๓. กลุ่มผู้ปกครอง ๔. กลุ่มสหวิชาชีพด้านสุขภาพ และ ๕. วัด/สถานปฏิบัติธรรม

References

นันท์นภัส ประสานทอง. "การฆ่ตัวตาย (Suicide)". สำนักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข : พฤษภาคม ๒๕๕๔.
กนก จันทรขจร. คุณรรมพื้นฐานในการพัฒนาเด็กไทยคู่มือวัฒนธรรมวิถีชีวิตไทย. พิมพ์ครั้งที่
๒. กรุงเทพมหานคร : พิศิษฐ์การพิมพ์, ๒๕๔๔.
ปาณิภา สุขสม. "แนวคิดทางสังคมวิทยากับการศึกษาอาชญากรรม". วารสาร มจร สังคมศาสตร์
ปริทรรศน์. ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๘.
(๓) เว็บไซต์:
กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข. สาเหตุของการฆ่ตัวตายในวัยรุ่น. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา,
http://www.saf.mut.ac.th/ Pages/ psychology/Suicide.htm. [๔ ตุลาคม ๒๕๕๗].
พระครูปลัดมารุต วรมงคโล. การศึกษาวิเคราะห์พุทธจิตวิทยาในพระไตรปิฎก [ออนไลน์].
แหล่งที่มา: http://www.mcu.ac.th/site/ articlecontent_desc.,php?. [4 ตุลาคม
2557].
สุนิสา ประวิชัย. เจาะใจวัยรุ่นผ่านผลโพลล์. ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัย
กรุงเทพ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา ; http:/research.bu.ac.th/extra/article018.html,
[10 ตุลาคม 2557].
Beitel, Mark,, et al.. Reflection by Inner-City Drug Users on a Buddhist-Based
Spirituality Focused Therapy : A Qualitative Study. American Journal of
Orthopsychiatry, 2007.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. Determining Sample Size for Research Activities,
Educational and Psychological Measurement. 30(3),1970
Marlatt, Alan G..Buddhist Philosophyand the Treatment of Addictive
Behavior. Cognitive and Behavioral Practice, 2002.
Ushiroyama, Takahisa. Clinical Efficacy of Psychotherapy Inclusive of Buddhist
Psychology in Female Psychosomatic Medicine. International Congress
Series, 1287.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-20

How to Cite

ศรีเครือดง ส. . (2016). พุทธจิตวิทยาบูรณาการ : แนวคิดและการสร้างตัวแบบเพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตาย ของวัยรุ่นในสังคมสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(3), 15–28. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245496