ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทัพไทย อำเภอตาพระยาจังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • เพชรสร้อย มีหนอง มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายสาธารณะ               ไปปฏิบัติของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทัพไทย อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้วและศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทัพไทย อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้วกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทัพไทย อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว จำนวน ๓๘๑ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้การแจกแจงความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยเลขคณิตค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ความแปรปรวนและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย

ผลการศึกษาพบว่า

๑. ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทัพไทยอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับสูง ๓ ด้านเรียงลำดับสูงสุดไปสู่ลำดับต่ำสุดได้แก่ด้านทัศนคติของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติด้านลักษณะของนโยบายด้านภาวะผู้นำและอยู่ในระดับปานกลาง ๒ ด้าน ได้แก่ ด้านวัตถุประสงค์ของนโยบาย และด้านความเพียงพอของทรัพยากร

๒. ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทัพไทยอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว โดยรวมส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านทัศนคติของผู้นำนโยบาย ด้านลักษณะของนโยบาย ด้านภาวะผู้นำ ด้านวัตถุประสงค์ของนโยบาย และด้านความเพียงพอของทรัพยากร ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

References

เพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ. “ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดไปปฏิบัติ.”วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. ๒๕๕๑.
ไพศาล สุริยะมงคล. การเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๕๐กับรัฐธรรมนูญพุทธศักราช ๒๕๔๐.: ๒๕๕๐.
วรเดช จันทรศร. จากนโยบายสู่การปฏิบัติ: องค์ความรู้ตัวแบบทางทฤษฎีและการประเมินความสำเร็จ ความล้มเหลว. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟิก. ๒๕๕๑.
พรภักดิ์ทันเจริญ. ปัญหาในการนำนโยบายการแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการไปปฏิบัติของจังหวัดกาฬสินธุ์. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชานโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ๒๕๕๑.
สุธิยาวงษ์จีน. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติของเทศบาลตำบลน้ำตกไทรโยคน้อย อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี.รายงานการศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ๒๕๕๓.
รัฐกรกลิ่นอุบล. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในภาคกลาง.ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนสาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชานโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.๒๕๕๑.
อังคณาจงภักกลาง. ปัญหาของการนำนโยบายการแก้ไขความยากจนไปปฏิบัติในองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอซำสูงจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ๒๕๕๓.
อิทธิชัยสีดำ. ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการนำนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปปฏิบัติ.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. ๒๕๕๑.
Chanad Bhowbhandee. Factors Affecting Chance of SuccessfulPrivatization of Public Telecommunication Organizations in Thailand.Unpublished doctoral dissertation, National Instituteof DevelopmentAdministration. 2002.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-12-30

How to Cite

มีหนอง เ. . (2014). ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทัพไทย อำเภอตาพระยาจังหวัดสระแก้ว. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 3(3), 187–196. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245389