การศึกษาปัญหาและความต้องการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว (๒) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง (๓) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (๔) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการ การจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ (๑) ผู้ให้บริการ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล นักพัฒนาชุมชนและเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง รวม ๖๖ คน (๒) ผู้รับบริการด้านสวัสดิการสังคมลำหรับผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว จำนวน ๓๗๗ คน เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวมรวบข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ใช้การทดสอบค่าที (t – test Independent Sample) และ F-test (One-Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ปัญหาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในจังหวัดสระแก้วในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ รองลงมา คือ ด้านการบริการผู้สูงอายุ อันดับสาม คือ ด้านการประมวลและพัฒนาองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุ ส่วนด้านที่ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการบริหารการดำเนินงาน ด้านผู้สูงอายุ
๒. ความต้องการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในจังหวัดสระแก้วในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารการดำเนินงาน ด้านผู้สูงอายุ รองลงมา คือ ด้านการประมวลและพัฒนาองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุ อันดับสาม คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ส่วนด้านที่ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม
๓. ปัญหาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว โดยภาพรวมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ รวม ๒ ด้าน ได้แก่ ด้านการเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ และด้านการคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ส่วนด้านการบริหารการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ ด้านการส่งเสริมผู้สูงอายุ และด้านการบริการผู้สูงอายุไม่แตกต่างกัน
๔. ความต้องการการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ทุกด้าน
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. มาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ.กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. ๒๕๔๘.
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. พระราชบัญญัติผู้สูงอายุพ.ศ. ๒๕๔๖. กรุงเทพฯ: เจเอสการพิมพ์. ๒๕๔๗.
. การจัดสวัสดิการสังคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ๒๕๔๘.
. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ๒๕๕๑.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทยพ.ศ. ๒๕๕๒. กรุงเทพฯ: ทีคิวพี. ๒๕๕๓.
จตุพร ตันเส้า. การจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการศึกษาอิสระ. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ๒๕๕๑.
ฉลองชัย อัมพรัตน์. ความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานสวัสดิการสังคมด้านเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต. ๒๕๔๙.
Dhammananda, K. Sri. Buddhism for the future. Taiwan : The Corporate Body of the Buddha Educational Foundation, 2000.
Phra Thepwisutthimethi (Nguam)., Bucknell, Roderick S. Buddha-Dhamma for students. [translated from the Thai by Ariyananda Bhikkhu (Roderick S. Bucknell)]. Bangkok : Dhamma Study & Practice Group, 1988.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น