ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากปัญหาอุทกภัยที่มีต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔

ผู้แต่ง

  • เมธารัตน์ จันตะนี

คำสำคัญ:

ปัญหาอุทกภัย; ผลกระทบทางเศรษฐกิจ; อุตสาหกรรมท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากปัญหาอุทกภัยที่มีต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาข้อมูลทั่วไปของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒) ศึกษาสภาพก่อนและหลังการเกิดอุทกภัยที่มีผลต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ ๓) ศึกษาระดับผลกระทบของอุทกภัยที่มีต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๐ สถานประกอบการ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม โดยใช้สถิติพื้นฐานการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า :
ส่วนใหญ่ประเภทของอุตสาหกรรมเป็นธุรกิจเจ้าของคนเดียว ร้อยละ ๗๐ ลักษณะของธุรกิจเป็นร้านอาหาร ร้อยละ ๕๓.๓ ทรัพย์สินของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นที่ดินอาคาร ร้อยละ ๕๐.๐ ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ๖ ปี ร้อยละ ๒๐.๐ และประเภทของอุตสาหกรรมมีจำนวนพนักงานบุคลากรจำนวน ๑๐ คน ร้อยละ ๒๓.๓ส่วนข้อมูลสภาพก่อนเกิดอุทกภัยของปี ๒๕๕๔ ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว พบว่า ส่วนใหญ่มีการเตรียมความพร้อมก่อนเกิดอุทกภัย ร้อยละ ๖๐.๐ การได้รับข่าวสารของสถานประกอบการก่อนเกิดอุทกภัยจากทีวีวิทยุ ร้อยละ ๗๖.๗ การป้องกันอุทกภัยของสถานประกอบการก่อนเกิดอุทกภัยโดยการหยุดกิจการชั่วคราว ร้อยละ ๘๓.๓ สาเหตุของการเกิดอุทกภัยของปี ๒๕๕๔ เกิดจากลักษณะภูมิประเทศ ร้อยละ ๕๓.๓

ค่าใช้จ่ายในการป้องกันและแก้ไขน้ำท่วมมาจากค่าใช้จ่ายอื่นๆ (ปัจจัย ๔) ร้อยละ ๘๐.๐ การได้รับข่าวสารเตือนภัยก่อนเกิดอุทกภัยก่อนเกิดอุทกภัยคือได้รับข่าวสารการเตือนภัย ร้อยละ ๙๖.๗ ทางภาครัฐไม่ได้เตรียมการป้องกันก่อนเกิดอุทกภัยของปี ๒๕๕๔ ร้อยละ ๙๖.๗ ก่อนเกิดอุทกภัยของปี ๒๕๕๔ ส่วนใหญ่ไม่ได้รับความช่วยเหลือเลย ร้อยละ ๙๐.๐ และไม่พอใจกับการแก้ปัญหาและความช่วยเหลือที่ได้รับจากทางภาครัฐก่อนเกิดอุทกภัยของปี ๒๕๕๔ ร้อยละ ๙๓.๓ แนวทางการป้องกันความเสียหายและมาตรการบริหารจัดการน้ำของชุมชนก่อนเกิดอุทกภัยของปี ๒๕๕๔ คือมีการควบคุมปริมาณการไหลของน้ำร้อยละ ๘๓.๓
สำหรับข้อมูลสภาพหลังเกิดอุทกภัยของปี ๒๕๕๔ ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว พบว่า ส่วนใหญ่หลังเกิดอุทกภัยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้ช่วยเหลือตัวเอง คิดเห็นร้อยละ ๙๓.๓ ผลกระทบหลังเกิดอุทกภัยของปี ๒๕๕๔ คือด้านรายได้ ร้อยละ ๙๐.๐ หลังเกิดอุทกภัยของปี ๒๕๕๔ ได้หยุดกิจการชั่วคราว ร้อยละ ๙๐.๐จำนวนวันที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดอุทกภัยปี ๒๕๕๔ เป็นเวลา ๓ เดือน ร้อยละ ๘๐.๐ การวางแผนป้องกันธุรกิจหลังจากเกิดอุทกภัยของปี ๒๕๕๔ โดยมีการปรับปรุงร้านเพื่อรับสถานการณ์น้ำท่วมครั้งต่อไปร้อยละ ๕๖.๗ การได้รับเงินช่วยเหลือหลังเกิดอุทกภัยปี ๒๕๕๔ คือไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ ร้อยละ ๗๓.๓โดยระดับผลกระทบของอุทกภัยที่มีต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว พบว่า ระดับผลกระทบของอุทกภัยที่มีต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวปี ๒๕๕๔ ด้านภาพรวม มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = ๔.๐๐และ S.D. = ๐.๕๙) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีระดับผลกระทบด้านอื่นๆ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรองลงมาคือมีระดับผลกระทบอยู่ในระดับมาก ในด้านสินค้าบริการ และด้านค่าใช้จ่าย ส่วนด้านทรัพย์สินมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง

References

ข่าวน้ำท่วมอยุธยา. [ออนไลน์]. แหล่งอ้างอิง. http://www.news.mthai.com, (๑ ธันวาคม ๒๕๕๔).
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, ๒๕๓๖.
ศูนย์บริการข้อมูลอำเภอบางปะอิน. [ออนไลน์], แหล่งอ้างอิง : http://www.amphoe.com : (๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. เอกสารประกอบการประชุม ประจำปี ๒๕๕๔ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕-
๒๕๕๙). ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็คเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพมหานคร : ๒๕๕๔.

เผยแพร่แล้ว

2020-07-23

How to Cite

จันตะนี เ. . (2020). ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากปัญหาอุทกภัยที่มีต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 1(3), 93–103. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245172