I Am Malala THE GIRL WHO STOOD UP FOR EDUCATION AND WAS SHOT BY THE TALIBAN

Authors

  • กองบรรณาธิการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Abstract

หนังสือนี้จึงเป็นบันทึกชีวิตที่เธอบันทึกไว้ แม้จะผ่านการประดิษฐ์สร้างผ่านตัวหนังสือ และการเล่าเรื่องที่ผ่านการกลั่นกรองมาบ้างแล้ว แต่นัยหนึ่งได้สะท้อนให้เห็นว่า “เธอ” พยายามเล่า ให้เห็นถึง “โอกาสทางการศึกษา” ที่ต้องดิ้นรนแสวงหา หรือ “การศึกษาคือฐานของการพัฒนา” ที่หมายถึงการพัฒนาตนเอง คน ทั้งเด็กและสตรี ในสังคมที่เธออยู่ โดยเฉพาะความเท่าเทียมทาง การศึกษาของเด็กและสตรีในชุมชนของที่เธออยู่อาศัย ถึงแม้เรื่องราวใน I AM MALALA จะเกิดขึ้น ในปากีสถาน ซึ่งอาจจะดูไกลตัว แต่ประเด็นความคิดในหนังสือเล่มนี้ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย เพราะมัน คือปรากฏการณ์หนึ่งของการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ในสังคมที่เธออยู่อาศัย และการต่อสู้นั้นยังนับเป็นแรงบันดาลใจต่อประชาคมโลกด้วยเช่นกัน ดังคําที่ Malala กล่าวกับที่ ประชุมในองค์การสหประชาชาติว่า "หยิบหนังสือของเราและปากกาของเราขึ้นมา มันเป็นสิ่งที่ ทรงอานุภาพกว่าอาวุธ เด็กหนึ่งคน ครูหนึ่งคน หนังสือหนึ่งเล่ม และปากกาหนึ่งด้าม เปลี่ยนโลก นี้ได้" 

บันทึกนี้ยืนยันความเชื่อของเธอที่ว่า “ปากกาสามารถสู้กับปลายกระบอกปืนได้” เธอ เขียนเรื่องราวของเธอ อธิบายความไม่เท่าเทียมของมนุษย์ในปากีสถานให้ผู้คนได้รับรู้ พร้อมคืนกลับ เป็นความตระหนกรู้ จากผู้คนทั่วโลก ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดความพยายามที่จะช่วยเหลือ และ ยกระดับสังคมในปากีสถาน ไปสู่การลดความรุนแรงทางการเมืองและความเชื่อทางศาสนาแม้ผลจะ เกิดขึ้นไม่ได้มากก็ตาม

References

มาลาลา ยูซาฟไซ, I AM MALALA : เด็กหญิงผู้เปลี่ยนโลก พลิกแผ่นดินสันติภาพ. สหชน สากลทรรศน์, ผู้แปล, กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์มติชน, ๒๕๕๗.

Downloads

Published

2015-04-15

How to Cite

กองบรรณาธิการ. (2015). I Am Malala THE GIRL WHO STOOD UP FOR EDUCATION AND WAS SHOT BY THE TALIBAN. Journal of MCU Social Science Review, 4(1), 305–313. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245151