ผลของโปรแกรมบูรณาการการตั้งเป้าหมายเข้ากับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และผลสัมฤทธิ์ในวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา (บดินทร ๓)
คำสำคัญ:
การตั้งเป้าหมาย, การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้, แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อพัฒนาโปรแกรมบูรณาการการตั้งเป้าหมาย เข้ากับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ๒) เพื่อ เปรียบเทียบแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลอง ๓) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง หลังการทดลอง ๔) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในวิชาวิทยาศาสตร์ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่ม ทดลองหลังการทดลอง ๕) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในวิชาวิทยาศาสตร์ของกลุ่มควบคุม ก่อนและหลังการทดลอง งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๒ ภาคการเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๖ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา ที่มีผลสัมฤทธิในวิชาวิทยาศาสตร์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ตํา จํานวน ๕๐ คน สุ่มแบ่งกลุ่ม(random sampling) เป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองกลุ่มละ ๒๕ คน กลุ่มทดลองได้รับการสอนด้วย โปรแกรมบูรณาการการตั้งเป้าหมายเข้ากับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ส่วนกลุ่มควบคุมสอน ตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ๑) แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในวิชา วิทยาศาสตร์ และ ๒) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ในวิชาวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การ ทดสอบค่าที (t-test )โดยกําหนดนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ผลการวิจัย พบว่า ๑) หลังการ ทดลองกลุ่มทดลองมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ . ๐๕ ๒) หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .๐๕ ๓) หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ในวิชาวิทยาศาสตร์สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .๐๕ ๔) หลังการทดลองกลุ่มควบคุมมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงก่อน
References
(๑) หนังสือ
กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด, ๒๕๕๑.
ณัฐพรหม อินทุยศ. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันการพลเรือน วิทยาเขตเพชรบูรณ์, ๒๕๕๓.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์, จิตวิทยาการศึกษา, กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีจํากัด, ๒๕๕๓.
พรรณี ชูทัย เจนคิด จิตวิทยาการเรียนการสอน, พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร : ต้นอ้อ แกมมี, ๒๕๓๕.
อรรวรรณี ลิมอักษร, จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ ๔. สงขลา: ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนวมหาวิทยาลัยทักษิณ, ๒๕๕๑.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา คู่มือสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริหาร ครู และ นักเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการประเมินตามโครงการนานาชาติ (PISA และ TIMSS). กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จํากัด, ๒๕๕๔.
สุวัฒก์ นิยมค้า ทฤษฎีและทางปฏิบัติในการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ เล่ม ๒. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเจเนอรัลบุคส์ เซนเตอร์ จํากัด, ๒๕๓๑.
๒. ภาษาอังกฤษ
(1) Book
Ikujiro Nonaka, The Knowledge-Creating Company,USA:Harvard Business School Press, 1998.
Margaret J. Wheatley, Leadership and the new science : Discovering order in achaotic world. 2 Edition, San Francisco : Berrett-Koehler Publishers, 1999.
P.M.Senge, The fifth discipline : the art and practice of the learning organization, New York: Doubleday,1990.
Thomas A. Stewart. Intellectualcapital. NewYork: Doubleday, 1997.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น