ทิศทางการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ในทศวรรษหน้า

ผู้แต่ง

  • ประทีป และคณะ ฉัตรสุภางค์

คำสำคัญ:

ทิศทางการวิจัย, สังคมศาสตร์, มนุษยศาสตร์, ศึกษาศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกําหนดทิศทางการ วิจัยด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ในทศวรรษหน้า (๒๕๕๕- ๒๕๖๔) อันเป็นแนวทาง ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อขึ้นําสังคม ตลอดจนพัฒนานโยบายสาธารณะในอนาคต เป็นการ ดําเนินงานตามนโยบายของมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัยการวิจัยออกแบบเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เพื่อสํารวจผลงานวิจัยของอาจารย์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีอยู่ในระบบฐานข้อมูลตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ จนถึงปี ๒๕๕๒ การจัดประชุมสัมมนาวิชาการการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยศึกษาในประเด็นต่างๆ ดังนี้ ประเภท การวิจัย พื้นที่การวิจัย แหล่งทุน อัตลักษณ์ ความเชี่ยวชาญของบุคลากรประเด็นปัญหาทางสังคม การใช้ ประโยชน์จากการวิจัย และลักษณะการบูรณาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยเทคนิควิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เปรียบเทียบสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ และทําการสังเคราะห์ทิศ ทางการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์ ด้านสังคมศาสตร์ และต้านศึกษาศาสตร์ ผลการศึกษา พบว่า ทิศทางการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ใน อนาคต คือ การวิจัยเชิงบูรณาการบนพื้นฐานของศาสตร์สาขาวิชา เพื่อตอบสนองต่อปัญหาสังคม อัน นําไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ คณะผู้วิจัยเสนอแนะว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกําหนดนโยบาย และยุทธศาสตร์ที่ตอบสนองต่อทิศทางการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ใน อนาคตโดยมุ่งสู่การพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนการแก้ปัญหาทั้งใน เชิงรับและรุก ครอบคลุมทั้งระดับประเทศ สถาบัน และบุคคล

References

ประทีป ฉัตรสุภางค์ และคณะ โครงการศึกษาทิศทางการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๕๔.
พระศรีวิสุทธิโมลี (ประยุทธ์ ปยุตโต), “อุดมคติและแนวทางการศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม และเอกลักษณ์ของบ้านเมืองไทย” ใน บนเส้นทางการแสวงหา โฉมหน้าใหม่ของการศึกษาไทย. รายงานการประชุมทางวิชาการครั้งที่สี่ พฤษภาคม ๒๕๑๖
กรมสามัญศึกษา, ๒๕๑๖.
โมง เคนอิจิโร, อัศจรรย์....วันที่สมองประทับใจ. บัณฑิต โรจน์อารยานนท์ ผู้แปล, กรุงเทพมหานครสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), ๒๕๕๕
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และจุมพล หนิมพานิช. “การวิจัยทางสังคมศาสตร์” ใน เอกสารการสอนชุดวิชามนุษย์กับสังคมสาขาวิชาศิลปศาสตร์, กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,๒๕๔๕
อุทัย ดุลยเกษม. “บทความพิเศษ การพัฒนาการวิจัยทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยไทย” ในศึกษาศาสตร์กับการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จํากัด, ๒๕๕๒

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-05-15

How to Cite

ฉัตรสุภางค์ ป. แ. (2013). ทิศทางการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ในทศวรรษหน้า. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 2(2), 79–95. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245102