พระมหาเจดีย์ชเวดากอง น้ําทองจากกรุงศรีอยุธยาไปสร้างจริงหรือไม่
คำสำคัญ:
พระมหาเจดีย์ชเวดากอง, สุวรรณภูมิ, กรุงศรีอยุธยาบทคัดย่อ
พระพุทธศาสนาเดินทางจากชมพูทวีป เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิตามที่ปรากฏหลักฐาน เมื่อ ประมาณ พ.ศ. ๒๓๕ คือ หลังจากการทําสังคายนาครั้งที่ ๓ มีพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้อุปถัมภ์ ได้ปรึกษาหารือกับพระโมคคัลสีบุตรติสสเถระ ถึงการส่งพระธรรมทูตออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายัง ดินแดนต่างๆ ทั้งในและนอกชมพูทวีป โดยแบ่งพระธรรมทูตออกเป็น ๔ สาย และ ๓ ใน ๔ สายนั้น สายที่ ๔ คือ สายสุวรรณภูมิ ได้มอบหมายให้พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ พร้อมคณะ รับผิดขอบเดินทางมาทําการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้สถิตสถาพรในดินแดนสุวรรณภูมินี้ คําว่า "สุวรรณภูมิ” แยกออกเป็น ๒ ศัพท์ คือ สุวรรณ ที่แปลว่า ทอง และศัพท์ว่า ภูมิ แปลว่า แผ่นดิน หรือ สถานที่ เมื่อแปลรวมกัน ได้ความหมายว่า แผ่นดินทอง ซึ่งในทางภูมิศาสตร์ อาจจะหมายถึงประเทศ หรือ แผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมี ดิน ฟ้า อากาศ ที่สามารถปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารได้ดีเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันมีประเด็นที่กําลังถกเถียงกันใน นักการศาสนาอยู่ว่า สุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ หรือมีศูนย์กลางอยู่ที่ไหน แต่ในที่นี้จะไม่วิเคราะห์ประเด็น ดังกล่าวการสร้างพระเกศาธาตุ ที่พาณิชสองพี่น้องชาวโอกคละขนบท ชื่อ ตปุสสะ และ ภัลลิกะ ได้ เดินทางไปค้าขายยังประเทศอินเดียในสมัยพุทธกาลอันเป็นช่วงเวลาที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และเสวย วิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ ๗ ได้ต้นราชายตนะ (เกต) ได้ถวายสัตตุก้อน สัตตุผง แล้วทั้งสองได้แสดงตนเป็น เทววาริกอุบาสก พระพุทธเจ้าได้ประทานเส้นพระเกศา 4 เส้น พาณิขสองพี่น้องรับเส้นพระเกศาแล้ว ได้นําพระเกศาธาตุกลับมายังโอกกละชนบท เริ่มต้นได้สร้างเจดีย์สูงเพียง ๔ เมตรครอบไว้ ปัจจุบัน พระเกศาธาตุเจดีย์ มีความสูงถึง ๑๒๐ เมตร มีทองคําโอบหุ้มอยู่เป็นน้ําหนักถึง ๓,๑๐๐ กิโลกรัม โดยนําทองคําเป็นแผ่นๆ มาเรียงกัน จํานวน ๑,๒๘๘ แผ่น นําไปเรียงร้อยกันตั้งแต่ตัวเจดีย์ (องค์ระฆัง) ขึ้นไปจนถึงยอดฉัตรคําถามมีอยู่ว่า ทองคําที่นํามาโอบหุ้มพระเกศาธาตุเจดีย์จํานวนมากมายขนาดนี้ ประเทศพม่า ซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศที่กําลังพัฒนา มีรายได้ของประเทศ หรือ GDP ไม่มากนัก จะนําทองคํามาจาก ที่ไหนมาสร้าง? หรือว่าขาวพม่าในสมัยที่ปกครองด้วยระบบกษัตริย์ไปรบชนะประเทศต่างๆ ในแถบ เอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสยามประเทศ แล้วน้าทองคําจากสยามประเทศมาต่อเติมพระเกศา ธาตุเจดีย์หรือเปล่าคําตอบมีอยู่อย่างสั้นๆ ก่อนว่า นําทองคําจากสยามประเทศมาต่อเติมพระเกศาธาตุเจดีย์จริง แต่เป็นเพียงจํานวนน้อยนิด ถ้าเทียบกับจํานวนทองคําที่ยนไปในคราวกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่สอง
References
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล, กรุงเทพมหานคร: โฆษิต, ๒๕๔๔
ภาพพล จันทร์วัฒนกุล, ประวัติศาสตร์และศิลปะพม่า. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ, ๒๕๕๓-
๖๐ วัด วัง และสถานที่สําคัญในพม่า. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ, ๒๕๕๓
ศ.ม.จ. สุภัทรดิศ ดีศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ก่อน พ.ศ. ๒๐๐๐. กรุงเทพมหานคร:สามลด ๒๕๕๔
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส. ปฐมสมโพธิกถา, กรุงเทพมหานคร: ศิลปากร,๒๕๓๔
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ. เที่ยวเมืองพม่า. กรุงเทพมหานคร: มติชน,๒๕๔๕
แสงเพชร เรียบเรียง. ปราบดาภิเษกอุกฉกรรจ์บนแผ่นดินอยุธยา. กรุงเทพมหานคร: ไพลิน, ๒๕๕๐
หม่องที่น่อง, ประวัติศาสตร์พม่า, แปลโดย พัชรี สุมิตร. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช,๒๕๔๒ Pamela Gutman. Burm's Lost Kingdom, Bangkok : Orchid press, 2001.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น