การบริหารจัดการความอิจฉา

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงศ์ สังวรวรรณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, ความอิจฉา

บทคัดย่อ

บทความเรื่องการบริหารจัดการความอิจฉา ความอิจฉานี้เป็นส่วนหนึ่งของกิริยาอาการ ที่แสดงออกทางอารมณ์ซึ่งฝังตัวหลบซ่อนสายเลือดของมนุษย์ มันเกิดมีมาพร้อมกับการมีชีวิตและลม หายใจทั้งของมนุษย์และสิ่งที่มีชีวิตทุกชนิด ความอิจฉานี้เป็นอาการนามไม่สามารถจับต้องได้ แต่ สามารถรับรู้ได้โดยการแสดงออกทางพฤติกรรมของคนเราที่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของอารมณ์ชนิดนี้ ครอบงํา มนุษย์เราเคยชินกับพฤติกรรมของความอิจฉาทั้งจากตนเองบ้างและจากคนอื่นบ้างจน กลายเป็นเรื่องปกติแทบไม่ได้คิดว่ามันมีพิษสงเพียงโต และร้ายแรงแค่ไหน ประสบการณ์ที่ได้เห็นทั้ง จากพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมที่ที่ปรากฏจากที่ต่างๆ และได้ยินได้ฟังจากสื่อชนิดต่างๆ ทั้งทีวี วิทยุ และหนังสือ พิมพ์และการบอกเล่าของคนอื่นบ้างจึงอยากจะสืบค้น เสาะแสวงหาถึงสาเหตุ ลักษณะ พิษภัยและทางแก้ไขของเพชฌฆาตไร้ตัวตนชนิดนี้จากพฤติกรรมดังกล่าวนี้ ได้ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจอยากรู้อยากเห็นและอยากสืบ ค้นหาลักษณะอาการ สาเหตุ โทษและทางแก้ไขของอาการนามชนิดนี้จึงได้ตั้งประเด็นศึกษาในหัวข้อ ต่างๆ คือ ความอิจฉา คืออะไร มีลักษณะเป็นเช่นไร มีสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง มีโทษอย่างไรและมี วิธีแก้ไขหรือไม่เพื่อที่จะทําให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นก่อนที่จะพบกับ รายละเอียดที่จะกล่าวต่อไปจึงขอยกเอาประเด็นที่ควรทราบมากล่าวพอเป็นสังเขปคือ ความอิจฉา คือ อะไร? มันคืออาการอย่างหนึ่งที่เมื่อเห็นคนอื่นได้ดีกว่า เด่นกว่า เหนือกว่าตนแล้วทนไม่ได้ อารมณ์ โกรธ เกลียด แค้นเคียงจะเกิดขึ้นทันทีมีลักษณะเป็นเช่นไร? ความอิจฉาเมื่อทวีความรุนแรงมากขึ้นจะขยายตัวกลายเป็นความ โกรธ อาฆาต พยาบาทถึงขั้นกินไม่ได้ นอนไม่หลับและมักจะหาทางเอาชนะโดยวิธีการรุนแรงอย่างใด อย่างหนึ่งมีสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง? ความอิจฉามีสาเหตุมาจากหลายๆอย่างด้วยกัน เพราะ ๑) ความอยากของปัจเจกบุคคล แตกต่างกัน ๒) ความคิดของปัจเจกบุคคล แตกต่างกัน ๓) ปมด้อยของ ปัจเจกบุคคลแตกต่างกัน ๔) สถานภาพของปัจเจกบุคคล แตกต่างกัน มีโทษอย่างไร ? ความอิจฉาจัดเป็นอกุศลธรรมประเภทใฝ่ต่ํา มักทําให้เกิดผลเสียทั้ง สุขภาพกายและใจ คิดมาก ฟังซ่าน หมดสง่าราศี หากขาดการระงับยับยั้งก็จะหาทางออกในทางที่เป็น อกุศล และอาจนําผลเสียมาสู่ทั้งตนเองและแก่ผู้อื่นได้มีวิธีแก้ไขหรือไม่? ทุกๆ ปัญหาย่อมมีทางแก้ไขอยู่ในตัวของมันเอง ปัญหาทุกปัญหาย่อม มีที่สุดของมันเองเสมอ ไม่มีปัญหาใดที่จะคงอยู่อย่างนั้นตลอดไป ปัญหาเกิดขึ้นด้วยสาเหตุใด ก็จะต้อง แก้ไขด้วยสาเหตุนั้น สอดคล้องตามพระพุทธดํารัสที่ตรัสไว้ว่า ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ พระตถาคต เจ้าตรัสบอกถึงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น พร้อมทั้งความดับแห่งเหตุของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณเจ้า มีปกติตรัสสอนอย่างนี้สรุปแล้ว ความอิจฉา คือ ความรู้สึกที่ไม่อยากเห็นคนอื่นได้ดีกว่า ได้ลาภมากกว่า มี ชื่อเสียงมากกว่าและทนไม่ได้เมื่อผิดหวัง เกิดความรู้สึกกระวนกระวาย กระสับกระส่าย กินก็ไม่เป็นสุข เห็นเรื่องน่าสนุกกลายเป็นทุกข์ไปเสียสิ้นและจุดจบมักลงเอยด้วยเรื่องน่าเวทนา

References

คุณครู.คอม, นางมาคันทิยาผูกอาฆาตพระพุทธเจ้า, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :http://www.kunkrod.com/catalog.php?idp=90 [๒ พ.ศ. ๒๕๕๖]
ประกายรุ้ง, ชวนคิดชวนทํา : 9 วิธี เอาชนะความอิจฉาริษยา, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :http://www.manager.co.th/dhamma/viewnews.aspx?NewsID=9540000067754 [๒๔ พ.ค. ๒๕๔๖].
พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ, รถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท อัปปมาทวรรคที่ ๒ หน้า ๑๕. พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมมชโย), โทษของความอิจฉาริษยา, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :buddha.dmc.tv/ธรรมะเพื่อประชาชน/โทษของความอิจฉาริษยา.html[๒๓ มิ.ย.๒๕๕๖]
มูลนิธิศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา, ๒๐๑๒ โลกจะแตกจริงหรือ?, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=20529 [๒๓ม.ย. ๒๕๕๖]
วิทยา นาควัชระ, หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันจันทร์ ที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-05-14

How to Cite

สังวรวรรณ์ ณ. . (2013). การบริหารจัดการความอิจฉา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 2(2), 23–29. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245090