พระมหาเจดีย์ชเวดากอง นำทองจากกรุงศรีอยุธยาไปสร้างจริงหรือไม่
คำสำคัญ:
พระมหาเจดีย์ชเวดากอง, สุวรรณภูมิ, กรุงศรีอยุธยาบทคัดย่อ
พระพุทธศาสนาเดินทางจากชมพูทวีป เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิตามที่ปรากฏหลักฐาน เมื่อระมาณ พ.ศ. ๒๓๕ คือ หลังจากการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ มีพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้อุปถัมภ์ได้ปรึกษาหารือกับพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ถึงการส่งพระธรรมทูตออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนต่างๆ ทั้งในและนอกชมพูทวีป โดยแบ่งพระธรรมทูตออกเป็น ๙ สาย และ ๑ ใน ๙ สายนั้นสายที่ ๘ คือ สายสุวรรณภูมิ ได้มอบหมายให้พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ พร้อมคณะรับผิดชอบเดินทางมาทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้สถิตสถาพรในดินแดนสุวรรณภูมินี้คำว่า “สุวรรณภูมิ” แยกออกเป็น ๒ ศัพท์ คือ สุวรรณ ที่แปลว่า ทอง และศัพท์ว่า ภูมิแปลว่า แผ่นดิน หรือ สถานที่ เมื่อแปลรวมกัน ได้ความหมายว่า แผ่นดินทอง ซึ่งในทางภูมิศาสตร์อาจจะหมายถึงประเทศ หรือ แผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมี ดิน ฟ้าอากาศ ที่สามารถปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารได้ดีเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันมีประเด็นที่กำลังถกเถียงกันในนักการศาสนาอยู่ว่า สุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ หรือมีศูนย์กลางอยู่ที่ไหน แต่ในที่นี้จะไม่วิเคราะห์ประเด็นดังกล่าว
การสร้างพระเกศาธาตุ ที่พาณิชสองพี่น้องชาวโอกกละชนบท ชื่อ ตปุสสะ และ ภัลลิกะ ได้เดินทางไปค้าขายยังประเทศอินเดียในสมัยพุทธกาลอันเป็นช่วงเวลาที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และเสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ ๗ ใต้ต้นราชายตนะ (เกต) ได้ถวายสัตตูก้อน สัตตูผง แล้วทั้งสองได้แสดงตนเป็นเท๎ววาจิกอุบาสก พระพุทธเจ้าได้ประทานเส้นพระเกศา ๘ เส้น พาณิชสองพี่น้องรับเส้นพระเกศาแล้วได้นำพระเกศาธาตุกลับมายังโอกกละชนบท เริ่มต้นได้สร้างเจดีย์สูงเพียง ๙ เมตรครอบไว้ ปัจจุบันพระเกศาธาตุเจดีย์ มีความสูงถึง ๑๒๒ เมตร มีทองคำโอบหุ้มอยู่เป็นน้ำหนักถึง ๑,๑๐๐ กิโลกรัม โดยนำทองคำเป็นแผ่นๆ มาเรียงกัน จำนวน ๘,๖๘๘ แผ่น นำไปเรียงร้อยกันตั้งแต่ตัวเจดีย์ (องค์ระฆัง)ขึ้นไปจนถึงยอดฉัตร
คำถามมีอยู่ว่า ทองคำที่นำมาโอบหุ้มพระเกศาธาตุเจดีย์จำนวนมากมายขนาดนี้ ประเทศพม่าซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา มีรายได้ของประเทศ หรือ GDP ไม่มากนัก จะนำทองคำมาจากที่ไหนมาสร้าง? หรือว่าชาวพม่าในสมัยที่ปกครองด้วยระบบกษัตริย์ไปรบชนะประเทศต่างๆ ในแถบเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสยามประเทศ แล้วนำทองคำจากสยามประเทศมาต่อเติมพระเกศาธาตุเจดีย์หรือเปล่า คำตอบมีอยู่อย่างสั้นๆ ก่อนว่า นำทองคำจากสยามประเทศมาต่อเติมพระเกศาธาตุเจดีย์จริง แต่เป็นเพียงจำนวนน้อยนิด ถ้าเทียบกับจำนวนทองคำที่ขนไปในคราวกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่สอง
References
๒๕๔๘.
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล. กรุงเทพมหานคร: โฆษิต, ๒๕๔๙.
ภภพพล จันทร์วัฒนกุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะพม่า. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ, ๒๕๕๓.
. ๖๐ วัด วัง และสถานที่สำคัญในพม่า. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ, ๒๕๕๓.
ศ.ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล. ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ก่อน พ.ศ. ๒๐๐๐. กรุงเทพมหานคร:สามลด,๒๕๔๙.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส. ปฐมสมโพธิกถา. กรุงเทพมหานคร: ศิลปากร,๒๕๓๙
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. เที่ยวเมืองพม่า. กรุงเทพมหานคร: มติชน,๒๕๘๕.
แสงเพชร เรียบเรียง. ปราบดาภิเษกอุกฉกรรจ์บนแผ่นดินอยุธยา. กรุงเทพมหานคร: ไพลิน, ๒๕๕๐.
หม่องทินอ่อง. ประวัติศาสตร์พม่า. แปลโดย พัชรี สุมิตร. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๑๙.
Pamela Gutman. Burm’s Lost Kingdom, Bangkok : Orchid press, 2001.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น