การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ:
การบริหาร; ประสิทธิภาพ; องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวชี้วัด ลักษณะและกระบวนการบริหารองค์การเทศบาล นครที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้กลุ่มผู้บริหารของเทศบาลนคร ๒๓ แห่งทั่วประเทศ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากจำนวน ๙ คน โดยแบ่งเป็น ๓ ระดับ ระดับละ ๓ คน ผลการวิจัย พบว่า
ตัวชี้วัดการบริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพคือ (๑) ด้านการบรรลุเป้าหมายของ เทศบาลนครที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต ด้าน เศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม (๒) ด้านกระบวนการบริหารงานของเทศบาลที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย ด้านวิสัยทัศน์ผู้นำ ด้านการวางแผนกลยุทธ์ ด้านการวางแผนปฏิบัติงาน ด้านการจัดการองค์การ ด้านการ จัดระบบตัดสินใจ ด้านระบบข้อมูล ด้านการประสานงาน ด้านการควบคุมงาน ลักษณะเทศบาลนครที่บรรลุเป้าหมายของเทศบาลนครด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการส่งเสริม
คุณภาพชีวิต ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ เทศบาลนครนนทบุรี มีผลรวม ของค่าเฉลี่ยของแต่ละด้าน ๓๔.๒๗ มีค่าเฉลี่ยของแต่ละด้าน ๓๓.๐๘ และเทศบาลนครภูเก็ต มีค่าเฉลี่ย ของแต่ละด้าน ๓๒.๙๓ ตามลำดับ ลักษณะกระบวนการบริหารงานเทศบาลนครวิสัยทัศน์ผู้นำ การวางแผน กลยุทธ์ การวางแผนปฏิบัติงาน การจัดการองค์การ การจัดระบบตัดสินใจ ระบบข้อมูล การประสานงาน การควบคุมงาน ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ เทศบาลนครนนทบุรี มีค่าเฉลี่ยของแต่ละด้าน ๖๖.๖๕ มี ค่าเฉลี่ยของแต่ละด้าน ๖๕.๒๐ และเทศบาลนครปากเกร็ด มีค่าเฉลี่ยของแต่ละด้าน ๖๓.๔๕ ตามลำดับ เทศบาลนครที่บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีประสิทธิภาพที่สุดคือ เทศบาลนครนนทบุรี ซึ่งมี ค่าเฉลี่ยของการประเมินด้านการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จขององค์กร และการประเมินกระบวนการ บริหารงานในระดับคะแนนที่สูงที่สุด แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารเทศบาลนคร คือ เพิ่ม ศักยภาพให้กับผู้บริหารทุกระดับ พัฒนาบุคลากรทั้งสองส่วนพร้อมกันข้าราชการกับนักการเมือง พัฒนา กระบวนการบริหารแบบคุณธรรม พัฒนาระบบการสื่อสารเพื่อปฏิบัติงาน พัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย พัฒนาการจัดทำแผนพัฒนาเมืองในรูปแบบ SWOT ส่งเสริมสนับสนุน กิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต
References
สถาบันพระปกเกล้า. การศึกษาเพื่อพัฒนาดัชนีวัดผลการพัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดี. รายงาน การวิจัยเสนอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ๒๕๔๕.
สุภางค์ จันทวานิช. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ ๑๔. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๙.
Morren, Tatiana Conceptualizing civil society within good governance and social capital policies”, 2001.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น