THE DEVELOPMENT OF GOVERNANCE ACCORDING TO THE PINCIPLES OF GOOD GOVERNANCE IN BANGKOK

Authors

  • Phrakhrurattakaemkon (Pramern Khenanando)
  • พระสุธีวีรบัณฑิต
  • พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของงานวิจัยมี 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและสภาพทั่วไปการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อ
นาเสนอรูปแบบการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในกรุงเทพมหานครใช้รูปแบบการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสาร สัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่มเฉพาะ
ประชากร และผู้ให้ข้อมูลสาคัญประกอบด้วย การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับพระสังฆาธิการ เจ้าอาวาสซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการบริหารงานทั้งหมดในวัดจานวน 25 รูป/ท่าน การสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) มีผู้ทรงคุณวุฒิ 12 รูป/คน จากนั้นนาผลวิจัยมาสังเคราะห์
เป็นรูปแบบการบริหารงานตามหลักพุทธธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตภาคกลางตอนล่าง

ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพทั่วไปการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของวัดในกรุงเทพมหานคร พบว่าวัดแต่ละแห่งจะมีปัญหาแตกต่างกัน ซึ่งสามารถแยกได้เป็น 2 ประเด็น คือปัญหาภายในวัด อันได้แก่ การบริหารจัดการ การขอความร่วมมือกับผู้ที่อยู่ใกล้วัด การปฏิบัติตาม
กฎระเบียบของวัดที่กาหนด ส่วนอีกปัญหาหนึ่งคือ ปัญหาภายนอกวัดที่ส่งผลกระทบมีผลต่อวัด เช่นสภาพแวดล้อมใกล้ ๆ วัด ชาวบ้านบริเวณรอบ ๆ วัด สภาพภูมิประเทศหรือทาเลที่ตั้งของวัด ซึ่งอาจมีปัญหากระทบต่อการปฏิบัติศาสนกิจภายในวัด

2. การพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในกรุงเทพมหานคร พบว่าการนาหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารวัดจะทาให้เจ้าอาวาสได้รับการยกย่องสรรเสริญ ทาให้การบริหารวัดเป็นไปด้วยความราบรื่นและทาให้พระภิกษุ สามเณร คฤหัสถ์ที่อยู่ในวัดเข้าใจตรงกัน ตั้งใจปฏิบัติคุณธรรมจริยธรรมของวัด ทาตามระเบียบของมหาเถรสมาคมไม่ขัดแย้งทะเลาะกัน เพราะทางานด้วยความบริสุทธิ์ใจถูกต้องตามกฎหมายทั้งทางโลกและทางธรรม ตรวจสอบการดาเนินงาน ทรัพย์สินของวัดได้ มีการบริหารแบบคุ้มค่ารวมทั้งทาให้ผู้มาติดต่อวัดใช้บริการในวัดได้รับความสะดวก ความสบายใจ

3. รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในกรุงเทพมหานคร พบว่า1) การบริหารงานของวัดด้วยหลักนิติธรรม ก็คือ การบริหารงานตามกฎหมาย ข้อบังคับต่างๆด้วยความถูกต้อง ความดีงาม มีการกระจายอานาจการพัฒนาบุคลากรอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม
กันไม่มีการเลือกปฏิบัติ มีกระบวนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน รณรงค์ให้บุคลากรยึดถือหลักความชอบธรรมในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่สังคม 2) การบริหารงานของวัดด้วยหลักคุณธรรม ซึ่งก็คือการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรยึดมั่นความถูกต้องดีงาม สร้างคุณภาพชีวิตของ
คนในสังคมให้ดีขึ้น ทาให้สังคมมีเสถียรภาพ ทุกคนสามารถอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุขด้วยหลักพรหมวิหาร 4 และเว้นอคติ 4 3) การบริหารงานของวัดด้วยหลักความโปร่งใส ตามอานาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสในกรุงเทพมหานคร เป็นกระบวนการทางานและกฎเกณฑ์ต่างๆ มีการเปิดเผยตรงไปตรงมาสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ บุคลากรและประชาชนทุกคนสามารถตรวจสอบความถูกต้อง 4) การบริหารงานของวัดด้วยหลักการมีส่วนร่วม(Participation) ตามอานาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสในกรุงเทพมหานคร เป็นการบริหารงานที่เปิด
โอกาสให้บุคลากรมีส่วนรับรู้ การวางแผนการปฏิบัติงาน การประเมินผลงานและเสนอความเห็นในการตัดสินปัญหา เพื่อให้เกิดความคิดริเริ่ม และมีพลังในการทางานร่วมกันด้วยหลักโลกาธิปไตย5) การบริหารงานของวัดด้วยหลักความรับผิดชอบ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรและผู้บริหาร
ใส่ใจต่อปัญหาอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม ผลของการปฏิบัติหน้าที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้และสร้างความพึงพอใจต่อทุกฝ่าย 6) การบริหารงานของวัดด้วยหลักความคุ้มค่า เป็นการบริหารการใช้ทรัพยากรต่างๆ ในการดาเนินงานอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่
ส่วนรวม การปฏิบัติงานต่างๆ ก็ควรทบทวนปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าต่อผลงานให้มากที่สุด

References

กรมการศาสนา. (2540). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยการคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพฯ :การศาสนา.
กรมการศาสนา. (2545). วัดพัฒนา 45. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.
นันทิพัฒน์ ธัญพิสิษฐ์. (2549). การบริหารจัดการวัด. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549) พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล). (2548). การบริหารวัด. พิมพ์ครั้งที่ 7. นครปฐม : เพชรเกษมการพิมพ์.
พิภพ อุดร. ธรรมาภิบาล พลังขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน. (2554). สื่อพลัง. ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม– มีนาคม สานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. คู่มืออธิบายและแนวทางปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี.
กรุงเทพมหานคร : สิริบุตรการพิมพ์.
อรพินท์ สมโชคชัย. (2558). เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรธรรมาภิบาลสาหรับผู้บริหารสถานศึกษา สพฐ. (โรงเรียนสุจริต) รุ่นที่ 2 หัวข้อการจัดธรรมาภิบาล. กรุงเทพมหานคร :สถาบันพระปกเกล้า.

Published

2020-06-04

How to Cite

(Pramern Khenanando) , P. ., พระสุธีวีรบัณฑิต, & พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ. (2020). THE DEVELOPMENT OF GOVERNANCE ACCORDING TO THE PINCIPLES OF GOOD GOVERNANCE IN BANGKOK. Journal of MCU Social Science Review, 6(2-03), 571–582. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/243578