ความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความในการกระทำผิดจริยธรรม
คำสำคัญ:
ผู้ประกอบวิชาชีพ, ทนายความ, จริยธรรม, คดีมรรยาททนายความบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายที่เกิดขึ้น เนื่องจากการกระทาผิดจริยธรรม หรือการประพฤติผิดมรรยาททนายความ 2) เพื่อศึกษาถึงสภาพความเป็นมาของแนวปัญหา แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ การลงโทษเมื่อทนายความกระทาผิดจริยธรรม รวมทั้งการปลูกฝังจริยธรรมและการพัฒนาการด้านจริยธรรมของทนายความ และ 3) เพื่อศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องการเพิ่มขึ้นของจานวนคดีมรรยาททนายความให้ลดน้อยลงให้มากที่สุดการวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากการวิจัยเอกสารจากหนังสือ บทความ และเอกสารทางวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดจนการสืบค้นจากสื่อออนไลน์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่ รวมทั้งทาการสัมภาษณ์เชิงลึกประชากรกลุ่มตัวอย่างผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องจริยธรรมรวม 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ 2) บุคลากรในสภาทนายความ และ 3) ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายอื่น เช่น ผู้พิพากษา พนักงานอัยการนักวิชาการ อาจารย์สอนวิชากฎหมาย เป็นต้นจากผลการวิจัยพบว่า โดยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายปัญหาเกิดขึ้นจาก 1) กฎหมายที่ใช้ในการกากับควบคุมจริยธรรมหรือมรรยาทของทนายความที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาจานวนคดีมรรยาททนายความที่เพิ่มสูงขึ้นได้ 2) สมควรที่จะต้องมีมาตรการอื่นๆมาใช้ร่วมกันกับการบังคับด้วยกฎหมายที่แก้ไขปรับปรุงใหม่ โดยใช้ไปพร้อมๆ กันการแก้ไขปัญหาเรื่องการเพิ่มขึ้นของจานวนคดีมรรยาททนายความสามารถทาได้โดยการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่ใช้ในการกากับควบคุมจริยธรรมหรือมรรยาทของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ โดยการเพิ่มความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความในเรื่องโทษ และการเพิ่มหน้าที่ความรับผิดชอบในการกากับควบคุมเรื่องจริยธรรมระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพทนายความด้วยกันเอง รวมทั้งการเพิ่มมาตรการอื่นนอกจากมาตรการทางกฎหมายที่ต้องนามาใช้ไปพร้อม ๆ กันได้แก่การปลูกฝังอบรมจริยธรรมให้แก่เยาวชนไทยตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนหนังสือชั้นอนุบาล จนถึงระดับมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะการศึกษาอบรมในชั้นเรียนระดับปริญญาตรีหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมาย และสานักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา รวมทั้งสานักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องการเพิ่มขึ้นของจานวนคดีมรรยาททนายความแล้ว ยังเป็นการแก้ไขปรับปรุงภาพพจน์และมาตรฐานทางวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความในสายตาของประชาชนชาวไทยให้ดีขึ้นอีกด้วย
References
Jiraniti Hawanont. (2556). Legal Profession and Professional Conduct for Lawyer. Bangkok: Ramkhamhaeng University Press.
Jitti Thingsapat. (2548). Legal Profession. Bangkok: Winyoochon Publising.Co.
Kittisak Pokkati. (2556). The Reform of the Thai Law System under the Influence of Europe. Bangkok: Winyoochon Publishing Co.Ltd.
Kosol Soparkwichit. (2525). Law Dictionary. Bangkok: Far-Easl Law Office Co.Ltd.
Sor. Siwarak. (2514). Plato, Apolgia. Bangkok: Siwapron Printing.
Surachai Suwanpreecha. (2556). Lawyer Practice and legal Document Preparation.Bangkok: Ramkhamhaeng University Press.
Taweekieat Menakanit. (2555). Social and Law. Bangkok. Winyoochon Publishing Co.Ltd.
Tanin Kaiwichien. (2557). Legal Profession. Bangkok. Winyoochon Publishing Co.Ltd.
The Role of Law yers-UN Basic Principles. [Online]. [2016, 15 August] Available from www.icj.wpengine,netdna_edn.com/wpcontent/uploads/2009/07International.
Theory of the Ethical Tree. [Online]. [2016, 29 August] Available from : www.ocsc.go.th/ocsc/th/uploads/File/ethic/F6.pdf.
Wicha Mahakhun. (2522). Legal Reasoning. Bangkok. Roumsan
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น