การประเมินการให้บริการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
การประเมินการให้บริการ, เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนสานักงานที่ดินบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ กรมที่ดินเป็นหน่วยงานราชการภาครัฐที่ต้องเข้าสู่กรอบของการบริหารจัดการภาครัฐตามแนวทางของสานักงานคณะกรรมการพัฒนาข้าราชการโดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้มารับบริการ และความคุ้มค่าในภารกิจ ดังนั้น จากสถานการณ์ด้านการถือครองที่ดินและการใช้ที่ดินในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาขัดแย้งรุนแรงขึ้น เนื่องจาก ปริมาณความต้องการใช้ที่ดินเพื่ออาศัยและทำกินได้เพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร ประกอบกับการใช้ที่ดินเพื่อกิจกรรมต่าง ๆ มีความหลากหลายมากกว่าแต่ก่อน การพิจารณาแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างล่าช้า เพราะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับที่ดินกระจัดกระจายอยู่หลายหน่วยงาน นโยบายในการทางานจึงไม่ประสานสอดคล้องกัน และที่สำคัญแต่ละหน่วยงานยังไม่มีการตรวจสอบและจัดเก็บข้อมูลที่ดินที่เป็นระบบและถูกต้องชัดเจนเพียงพอต่อการประกอบการพิจารณาตัดสินใจ ดังนั้น สานักงานที่ดินจังหวัดหนองคายซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการสิทธิการถือครองที่ดินของรัฐ และประชาชนมากกว่า 100 ปี ปัจจัยทั้งภายในและภายนอกระบบงานที่ดิน ที่ได้มีการปรับเปลี่ยนไปตามสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองเทคโนโลยีและกระแสโลกาภิวัตน์ รวมถึงการปฏิรูประบบราชการที่เน้นการบริการโดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง ได้มีการปรับระบบการให้บริการมาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ ผู้ศึกษาจึงสนใจที่ศึกษาถึงการประเมินการให้บริการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนสานักงานที่ดินจังหวัดหนองคาย จากกลุ่มตัวอย่าง 380 คน โดยการการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้รับบริการเห็นว่ามีการให้บริการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนสานักงานที่ดินจังหวัดหนองคาย โดยรวมและรายด้าน 4 ด้าน คือ ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนในการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านคุณภาพการให้บริการ อยู่ในระดับดี 2. ผู้รับบริการเพศชายเห็นว่ามีการให้บริการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองคาย โดยรวมและรายด้าน 2 ด้าน คือ ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ และ
ด้านคุณภาพการให้บริการมากกว่าผู้รับบริการเพศหญิง ส่วนผู้รับบริการส่วนใหญ่ที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี เห็นว่ามีการให้บริการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนโดยรวมและรายด้าน 4 ด้าน คือ ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านสิ่งอานวยความสะดวก และด้านคุณภาพการให้บริการ มากกว่าผู้รับบริการที่มีอายุ 26 – 35 ปี, 36-45 ปี และ 46-55 ปี นอกจากนี้ ผู้รับบริการที่มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี เห็นว่ามีการให้บริการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียน โดยรวมและรายด้าน 4 ด้าน คือ ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านคุณภาพการให้บริการ มากกว่าผู้รับบริการที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อนุปริญญา สูงกว่าปริญญาตรี และอื่น ๆ และผู้รับบริการที่มีอาชีพข้าราชการเห็นว่ามีการให้บริการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนโดยรวมและรายด้าน 4 ด้าน คือ ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านสิ่งอานวยความสะดวก และด้านคุณภาพการให้บริการ มากกว่าผู้รับบริการที่มีอาชีพเกษตรกร พนักงานของรัฐ พนักงานบริษัทเอกชน และประกอบธุรกิจส่วนตัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสรุป ผู้รับบริการส่วนใหญ่เห็นว่ามีการให้บริการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนสานักงานที่ดินจังหวัดหนองคาย โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับดี โดยผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุต่ำกว่า 25 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี และประกอบอาชีพรับราชการ ซึ่งข้อสนเทศที่ได้นี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสาหรับใช้ในการวางแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และการกำหนดกลยุทธ์ด้านการให้บริการของสานักงานที่ดินจังหวัดหนองคายเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ ซึ่งจะสามารถช่วยลดปัญหาการให้บริการเพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้มารับบริการที่สำนักงานที่ดินจังหวัดหนองคาย
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูลเวอร์ชั่น 7 –10. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ซี เค แอนด์ เอส โฟโต้สตูดิโอ, 2544.
ก้าน กลิ้งทะเล. คุณภาพบริการเยี่ยมบ้านตามความคาดหวังของผู้รับบริการศูนย์สุขภาพชุมชนโคกกรวดอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาปัญหาพิเศษ กษ.ม. ขอนแก่น :มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2546.
โกวิท ประวาลพฤกษ์ และคณะ. การประเมินผลแนวใหม่ : คู่มือสำหรับครูประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : เวลโก, 2522.
จิรุตน์ ศรีรัตนบัลล์ และคณะ. เครื่องชี้วัดคุณภาพโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ดีไซร์, 2543.
ชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์. “คำบรรยายเรื่องการบริหารสำนักงานที่ดินจังหวัด สาขาเนื่องในการประชุมวิชาการเรื่องการบริหารสานักงานที่ดินจังหวัด สาขา ประจำปีงบประมาณ 2537,” วารสารที่ดิน. 40(5) : 18-24 ; กันยายน-ตุลาคม, 2537.
ชัชวาล วงษ์ประเสริฐ. เอกสารการสอนชุดวิชาการบริการและเผยแพร่สารสนเทศ. นนทบุรี :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546.
ณัฎฐพันธ์ เขจรนันท์ และคณะ. TQM กลยุทธ์การสร้างองค์กรคุณภาพ. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท, 2545.
ผุสดี เต้าประยูร. “Total Quality Management (TQM),” ออมสินพัฒนา. 5(3) : 2-3 ; พฤษภาคม – มิถุนายน, 2541. ธงชัย สันติวงษ์. พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2540.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : วี. อินเตอร์ พริ้นท์, 2548. ธีรพงษ์ ศิริโสม. การศึกษาปัญหาและคุณภาพในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนสานักงานที่ดินในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์. การศึกษาค้นคว้าอิสระ รป.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547.
นุงนุช อุณอนันต์. การศึกษาความพึงพอใจของสมาชิกที่มีต่อบริการของสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ จากัด. รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ บธ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2545.
นิศา ชูโต. การจัดทารายงานการประเมินผล. กรุงเทพฯ : แม็ทส์สปอยท์, 2543.
นิสากร เอื้อศิลามงคล. การศึกษาการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) ในยุค IMF ในจังหวัดนครราชสีมา. รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ บธ.ม.มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2541.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2545.
บุญเหลือ ลาวงษ์. ความคิดเห็นของประชาชนผู้มาขอใช้บริการสานักงานที่ดิน จังหวัดมหาสารคาม สาขาเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2539.
ประภาพร สุขุมวิริยกุล. แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการ ศึกษากรณีธนาคารออมสินสาขาถีนานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ บธ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2544.
พิทยา จันทร์เจริญ. การดำเนินงานของสานักงานที่ดินจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2540.
ไพเราะ คลองนาวัง. คุณภาพบริการพยาบาลตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้ป่วยโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ พย.ม. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2543.
รัชนีพร ก้อนคำ. คุณภาพบริการของโรงแรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา (Electronic Resource). การศึกษาปัญหาพิเศษ บธ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547. รัดดา ภานิล. คุณภาพการให้บริการของบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด สาขาขอนแก่น ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 (Electronic Resource). การศึกษาค้นคว้าอิสระ รป.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547.
วรลักษณ์ แฝงมณี. แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของสำนักงานประกันสังคม จังหวัดยโสธร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บธ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2549.
วิฑูรย์ สิมะโชคดี. คุณภาพคือความอยู่รอด. กรุงเทพฯ : ดวงกมล, 2541.
วีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. คุณภาพในงานบริการ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ส.ท.ท., 2545.
วีระรัตน์ กิจเลิศไพโรจน์. การตลาดธุรกิจบริการ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2547.
สมชาติ กิจบรรยง. สร้างบริการสร้างความประทับใจ. กรุงเทพฯ : เดช-เอนการพิมพ์, 2536.
สมบัติ สาสีเสาร์. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545.
สมบูรณ์ ชิตพงศ์ และคณะ. การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน. สงขลา : กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2542.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. การกำกับการและการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ, 2533. หลักการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ, 2535.
สมาน รังสิโยกฤษฏ์. การบริหารราชการไทย : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : บรรณกิจ, 2546.
สันสิทธิ์ ชวลิตธำรง. หลักการบริหารรัฐกิจกับระบบราชการไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นท์ติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2546.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. การบรรยายพิเศษเพื่อการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของโลกสู่การปฏิบัติราชการของไทยจากนักวิชาการระดับโลก. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2549
สำนักงานที่ดินจังหวัดหนองคาย. ผลการปฏิบัติงานของสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองคาย ปีงบประมาณ 2548. ร้อยเอ็ด : สำนักงานที่ดินจังหวัดหนองคาย, 2549.
สุทธนู ศรีไสย์. สถิติประยุกต์ สาหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. สุรวิทย์ นวลแก้ว. ประสิทธิผลของโครงการเร่งรัดออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศ : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ รป.ม. กรุงเทพฯ : สถานบันเทคโนโลยีสังคม (เกริก), 2537.
หทัยพันธน์ ชูชื่น. การประเมินผลการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ : ศึกษาเฉพาะกรณีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. นนทบุรี :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2548.
อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล และคณะ. การพัฒนาคุณภาพบริการเพื่อความอยู่รอดของบริการสุขภาพในภาครัฐ. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2543.
อัมมันดา ไชยกาญจน์. ความพึงพอใจของผู้มารับบริการต่องานกายภาพบาบัดโรงพยาบาลกุมภวาปีอาเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. รายงานปัญหาพิเศษ กษ.ม. ขอนแก่น :มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2546.
Alkin, Marvin C. Debates on Evaluation. Newbury Park : SAGE, 1990.
Baylock, A.R. Evaluating University Services for Aboriginal Students. Canada : University of Calgary Press, 1992.
Cronbach, Lee J. Designing Evaluations of Educational and Social Programs.San Francisco : Jossey-Bass, 1982. Hill,
J.L. Accommodating a Student with a Disability : Suggestions for Faculty. British Columbia : Victory University Press, 1995. Provus, Malcolm M. Discrepancy Evaluation for Educational Program Improvement andAssessment. Berkeley, Calif : McCutchan, 1971.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น