รูปแบบการบริหารงานประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเอกชน
คำสำคัญ:
การบริหารงานประชาสัมพันธ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบรูปแบบการบริหารงานประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเอกชน โดยศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการเก็บข้อมูลด้วยแบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วย อธิการบดี รองอธิการบดี ที่ดูแลงานด้านประชาสัมพันธ์ และหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ จากมหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 10 แห่ง โดยการเลือกแบบเจาะจง รวม 40 คน การสัมภาษณ์เชิงลึก มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีความสอดคล้องกับรูปแบบการบริหารงานประชาสัมพันธ์ แล้วนำมาพัฒนาเป็นแบบสอบถาม เพื่อถามบุคลากรในมหาวิทยาลัยเอกชน โดยกลุ่มตัวอย่างสำหรับแจกแบบสอบถาม ประกอบด้วยอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 41 แห่ง จานวน 410 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ใช้ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุ (Path Analysis) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารงานประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเอกชน ประกอบด้วย 4 ปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ 1) ด้านผู้บริหาร ประกอบด้วยนโยบาย วัตถุประสงค์ ภาวะผู้นำ แรงจูงใจ การสร้างบรรยากาศการสื่อสารในองค์การ 2) ด้านระบบการบริหารองค์การ ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การจัดบุคลากรเข้าทางาน ค่าตอบแทน การประสานงาน และงบประมาณ 3) ด้านบุคลากร ประกอบด้วย คุณลักษณะของบุคลากร การฝึกอบรมและพัฒนา และความผูกพัน 4) ประเภทของสื่อ ประกอบด้วย สื่อบุคคล สื่อมวลชน สื่อกิจกรรมพิเศษ สื่อเทคโนโลยี และสื่อเบ็ดเตล็ดภายในมหาวิทยาลัย มีความสัมพันธ์กับรูปแบบบริหารงานประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย ในขณะที่ระบบการบริหารองค์การไม่มีอิทธิพลต่อประเภทของสื่อต่าง ๆ
References
กัญญา ศิริสกุล. (2548). หลักการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคาแหง.
การประชาสัมพันธ์. (2519). รายงานผลการสารวจสถานภาพงานประชาสัมพันธ์ของส่วนราชการองค์การและรัฐวิสาหกิจ. กรุงเทพมหานคร.
ขนบพันธุ์ เอี่ยมโอภาส. (2548). หลักการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคาแหง
จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์. (2544). ยุทธวิธีการประชาสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น