การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์และคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โดยใช้การเรียนรู้โดยเน้นภาระงานและการโค้ช

ผู้แต่ง

  • ณัฐกิตติ์ นาทา
  • มีชัย เอี่ยมจินดา
  • นรินทร์ สังข์รักษา
  • ภัทร์ธีรา เทียนเพิ่มพูล

คำสำคัญ:

แนวคิดเน้นภาระงาน, กระบวนการโค้ช, ทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์และคิดวิเคราะห์

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์และคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โดยใช้การเรียนรู้โดยเน้นภาระงานและการโค้ช 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาหลักสูตรและคู่มือฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์และคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โดยใช้การเรียนรู้โดยเน้นภาระงานและการโค้ช 3) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรและคู่มือฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์และคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โดยใช้การเรียนรู้โดยเน้นภาระงานและการโค้ช 4) เพื่อศึกษาความสามารถด้านทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์และคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ โดยใช้การเรียนรู้โดยเน้นภาระงานและการโค้ช ก่อนเรียนและหลังเรียน 5) เพื่อประเมินและปรับปรุงหลักสูตรและคู่มือฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์และคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โดยใช้การเรียนรู้โดยเน้นภาระงานและการโค้ช

 

กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 28 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่กาลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จานวน 233 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรและคู่มือฝึกอบรม แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด TBL แบบวัดความรู้ความเข้าใจ

 

เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถด้านทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์และคิดวิเคราะห์ แบบประเมินความสามารถการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินความสามารถการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย (xˉ ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที t-test dependent และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)

ผลวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจากการวิเคราะห์เอกสาร สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มย่อยพบว่า หลักสูตรฝึกอบรมมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยพัฒนานักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ประกอบไปด้วย หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ กิจกรรม สื่อและอุปกรณ์ และการวัดและประเมินผล มีกระบวนการอบรมชื่อว่า SBADF ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 เร้าความสนใจ (Stimulation) ขั้นที่ 2 ระดมพลังสมอง (Brain Storming) ขั้นที่ 3 ปฏิบัติงาน (Action) ขั้นที่ 4 สรุปและอภิปราย (Discussion) และขั้นที่ 5 สะท้อนผล (Refection)

2. หลักสูตรฝึกอบรมฉบับร่างมีความสอดคล้องในภาพรวม ได้ค่าเฉลี่ย (xˉ = 4.60) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.43) มีความสอดคล้องระดับมากที่สุด และหลักสูตรฝึกอบรมฉบับร่างมีความเหมาะสมในภาพรวม ได้ค่าเฉลี่ย (xˉ = 4.65)และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.47) มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ประกอบด้วย 4 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ทักษะการอ่าน...สะพานสู่ความสาเร็จ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2ทักษะการคิด..พิชิตเป้าหมาย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 Task - based learning : แนวคิดมุ่งเน้นปฏิบัติงาน หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี...นาทฤษฏีสู่การปฏิบัติ

3. การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้หลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ภาพรวมทุกโรงเรียนมีค่าเฉลี่ย (xˉ = 4.48) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.72) แสดงว่ามีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ระดับมาก ความสามารถการจัดการเรียนรู้ภาพรวมทุกโรงเรียน มีค่าเฉลี่ย (xˉ = 4.58) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.26) แสดงว่ามีความสามารถการจัดการเรียนรู้ระดับมากที่สุด

4. การประเมินหลักสูตรพบว่า เป็นหลักสูตรที่ช่วยพัฒนานักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูให้มีความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้สูงขึ้น ตอบสอนงความต้องการผู้อบรมมีทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้อบรมแสดงความคิดเห็น

5. ความสามารถด้านทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์และคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโดยใช้การเรียนรู้โดยเน้นภาระงานและการโค้ช หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ธันยพร ชื่นกลิ่น. (2553). การพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์พยาบาลที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลในสังกัด สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นรินทร์ สังข์รักษา. เฉลียว บุรีภักดี และสุมาลี พงศ์ติยะไพบูลย์. (2556).ประเมินผลและถอดบทเรียนโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง. เพชรบุรี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10.
พีระพรรณ ทองศูนย์. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาหลักสูตรการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานใต้ ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เพ็ญประภา มีเพียร. (2557).การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานเพื่อ พัฒนาทักษะ การเขียนคาศัพท์ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). อุบลราชธานี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ : ทฤษฏี กลยุทธ์สู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 12 ฉบับปรับปรุง. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมหวัง มหาวัง. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นในหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2549). เอกสารแนวทางการดาเนินงานปฏิรูปการเรียนการสอน ตามเจตนารมณ์กระทรวงศึกษาธิการ “2549 ปีแห่งการปฏิรูปการเรียนการสอน”แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา.
สุมน ไวยบุญญา. (2557). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาครูที่ส่งเสริมทักษะการสื่อสารสาหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุวิทย์ มูลคา. (2547). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : ดวงกมลสมัย.
Bloom, Benjamin A. (1956).Taxonomy of Education Objective Handbook I : Cognitive Domain. New York : David Mc Kay Company.
Marzano, Robert J. (2001). Designing A New Taxonomy of Educational Objectives. California :Corwin Press, Inc. Willis, J. (1996). A framework for task-based learning. London: Longman.
Saylor Galen J., (1981). Alexander, Willium M., and Arther J Lewis. Curriculum Planning for Better Teaching and Learning. 4th ed. New York: Holt Rinchart and Winston,

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30

How to Cite

ณัฐกิตติ์ นาทา, มีชัย เอี่ยมจินดา, นรินทร์ สังข์รักษา, & ภัทร์ธีรา เทียนเพิ่มพูล. (2020). การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์และคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โดยใช้การเรียนรู้โดยเน้นภาระงานและการโค้ช. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-05), 393–410. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/242432