แนวทางการพัฒนาสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
แนวทำงกำรพัฒนำ, องค์กำรแห่งกำรเรียนรู้, สำนักงำนพำณิชย์จังหวัดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสานักงานพาณิชย์จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสานักงานพาณิชย์จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสานักงานพาณิชย์จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ (4) สร้างแนวทางการพัฒนาสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสานักงานพาณิชย์จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ซึ่งได้ดาเนินการเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้และปัจจัยที่มีอิทธิพลสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสานักงานพาณิชย์จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (QuantitativeResearch) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลำกรของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 400 คน ซึ่งได้มาโดยการกาหนดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทำโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane)และใช้วิธีการกำหนดสัดส่วนและวิธีสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่ำ 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่ำเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่ำสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Coefficient) และวิเคราะห์ความตรงโมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรมลิสเรล (Lisrel) ระยะที่ 2 เป็นการสร้างและยืนยันแนวทางการพัฒนาสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสานักงานพาณิชย์จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) กลุ่มเป้าหมายผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการบริหารองค์การโดยเลือกแบบ เฉพาะเจาะจงได้แก่ พาณิชย์จังหวัดระดับเชี่ยวชำญและผู้อำนวยการกลุ่ม รวมทั้งสิ้นจำนวน 20 คนใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth-Interview) และแบบสอบถามโดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอแนะแนวทางและตรวจประเมินความเหมาะสมของผังมโนทัศน์แนวทางการพัฒนาสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสานักงานพาณิชย์จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับความคิดเห็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ด้านภาวะผู้นา ด้านเครือข่ายองค์การ ด้านบุคคลมีความเป็นเลิศ ด้านการจูงใจ ด้านบรรยากาศการปฏิบัติงานและวัฒนธรรมขององค์การด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจและยุทธศาสตร์ตามลำดับ2. ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสานักงานพาณิชย์จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี ด้านการเสริมอำนาจแก่บุคคล ด้านการจัดการความรู้ และด้านการปรับเปลี่ยนองค์การ และด้านพลวัตการเรียนรู้ตามลำดับ3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสานักงานพาณิชย์จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเรียงลำดับค่ำสัมประสิทธิ์อิทธิพลโดยรวมจากมากไปหาน้อย คือภาวะผู้นาองค์การ เครือข่ายองค์การ นวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยี บุคคลมีความเป็นเลิศ การจูงใจ และการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม โดยทั้ง 6 ปัจจัยสามารถอธิบายการผันแปรในความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ได้ร้อยละ 50.10 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งโมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสานักงานพาณิชย์จังหวัดในภำคตะวันออกเฉียงเหนือมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 4. แนวทางการพัฒนาสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสานักงานพาณิชย์จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 6 แนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) การพัฒนาด้านนวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยี 2) การพัฒนาด้านบุคคลมีความเป็นเลิศ 3) การพัฒนาด้านเครือข่ายองค์การ 4) การพัฒนาด้านภาวะผู้นา 5) การพัฒนาด้านการจูงใจ 6) การพัฒนาด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
References
Crd. Suwapak Vesamawibool WRTN. (2550). A Devenlopment of the Learning Organizational Management Model of Nursing colleges. The ministry of Defense. Dissertation. Doctor of Philosophy Degree (Doctoral issertation). Manament Branch. Siam University.
Manas Yongthai. (2555). The relationship pattern of military school development factors is a learning organization. Dissertation.Doctor of Philosophy in Management (Doctoral Dissertation). Educational Administration
Brance,Silpakorn University.
Marquardt. (1996). M. Building the Learning Organization. New York: McGraw-Hill.
Ministry of commerce. (2559). Stategic plan, ministry of commerce 2555- 2564. Nonthaburi: 199
Pedler, Burgoyne and Boydell. (1996). L.The Learning Company : A strategy for sustainable development. Maidenhead: McGraw – Hill.
Rungson Singhalert. (2549). Analysis of Structural Equatons By LISREL Program. Facuty of Humanities and Socail Sciences Mahasarakham Rajabhat University.
Sanya Kanaphum. (2557). Conceptual Fame Work for Research Concepts Management. Journal of Mahasarakham Rajabhat University,Year 8,No.3 (September - December)
Senge, Peter M. (1990). The Fifth Discipline : The Art and Practice of the learning Organization. New York: Doubleday Currency.
Somkid Soinam.(2547). Model Development Learning Organization in High school.Dissertation Thesis .Doctor of Education in Education
Administration.Gruduate School (Doctoral Dissertation). Khon Kaen University.
Virot Sanratana and Anchalee Sanratana.(2549). Administrative Factors as a learning Organization in Elememtary School clylender the office of the Nationl
Primary education commission School District 9 (Doctoral Dissertation). Bangkok.Thipwisut.
Wheeler. (2002). L.L.Building a learning organization: Amative American experience. Doctoral Dissertation, Education Administration, Fielding Graduate Institute.
Yamane, Taro. (1973). Statistics, An Introductory Analysis, 3rd Ed., New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น