เหตุใด...ประเทศไทยจึงเป็นจุดสนใจของนักลงทุนจีน ?

ผู้แต่ง

  • กาณติมา พงษ์นัยรัตน์

คำสำคัญ:

นักลงทุนจีน; ความได้เปรียบ; นโยบายเศรษฐกิจ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของไทยจาเป็นต้องพึ่งพาการลงทุนจากต่างชาติเป็นอันมากนโยบายทางด้านเศรษฐกิจจึงค่อนข้างเปิดกว้างเพื่อดึงดูดให้นักลงทุนชาติต่างๆ เข้ามาลงทุน หนึ่งในนั้นคือประเทศจีน แต่หากจะกล่าวเพียงเพราะว่านโยบายด้านเศรษฐกิจจึงนามาซึ่งการลงทุนของนักลงทุนจากจีนเพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ ดังนั้นบทความวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจให้นักลงทุนจากจีนสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยผู้เขียนทำการศึกษาโดยการวิจัยเอกสารจากหนังสือ วารสารวิชาการ และเอกสารของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกนักลงทุนจีน ที่เข้ามาลงทุนในเขตนิคมอุตสาหกรรมไทย-จีน จังหวัดระยอง จานวน 5 ราย และสัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการชาวจีน จำนวน1 ราย ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่ามีหลายเหตุผลด้วยกันที่ทาให้นักลงทุนจีนต้องการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ทั้งด้านวัฒนธรรมธรรม อาหารการกิน ความเป็นอยู่ที่สะดวกสบาย การเดินทางที่สะดวก ระบบขนส่งเอื้ออานวยต่อธุรกิจ แต่เหตุผลที่สำคัญหลักๆ คือประการแรกเรื่องของความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทย-จีน ที่มีมาอย่างยาวนาน ประการที่สองนโยบายด้านเศรษฐกิจของไทย ที่เน้นการส่งเสริมให้เกิดการลงทุน และถึงแม้ว่าไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลกี่ชุดก็ตามนโยบายด้านเศรษฐกิจในด้านการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนจากต่างชาติไม่เคยเปลี่ยน ทาให้นักลงทุนไม่มีความเสี่ยงทางด้านนโยบาย และประการที่สามไทยมีความได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ ด้วยไทยนั้นเป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางของกลุ่มอาเซียน จึงทำให้เกิดความสะดวกในด้านการขนส่งเพื่อการกระจายสินค้าด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมา ประเทศไทยถือว่ามีปัจจัยสำคัญที่เป็นข้อได้เปรียบในการที่จะทำให้นักลงทุนจีนให้ความสนใจเข้าร่วมลงทุน จึงเป็นโอกาสที่ไทยควรไขว่คว้าไว้ ดังนั้นจึงขึ้นอยู่ที่ว่าไทยจะมีมาตรการในการสร้างแรงจูงใจอย่างไรให้นักลงทุนจีนที่พร้อมออกมาลงทุน มุ่งหน้าสู่ประเทศไทยเป็นอันดับต้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง เพราะนั่นหมายถึงประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจที่สร้างความมั่นคงให้ไทย

References

กระทรวงพาณิชย์ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (10 สิงหาคม 2560). ลาดับความสำคัญของป ร ะ เ ท ศ คู่ค้า ข อ ง ไ ท ย : ก ร ก ฎ า ค ม 2 5 6 0 . [อ อ น ไ ล น์]. แ ห ล่ง ที่ม า :http://www.dtn.go.th/index.php/stat-dtn/category/%E0 % B8 % 9 B%E0%B8%B5-2559.htmlกรุงเทพธุรกิจ. (5 สิงหาคม 2560). ผ่าแผนพัฒน์ฯ ฉบับ 13 ของจีนในภาวะ New Normal.[อ อ น ไ ล น์]. แ ห ล่ง ที่ ม า : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/637293
เกา ชานเหลา. (29 มิถุนายน 2560). ผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ. สัมภาษณ์.
ไค หวง. (22 มิถุนายน 2560). ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ. สัมภาษณ์.
ฉี บิน. (6 สิงหาคม 2560). ผู้จัดการทั่วไป. สัมภาษณ์.
ชุติระ รอบบและคณะ. (2557). “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการลงทุนในไทยของผู้ประกอบการชาว
จีนในนิคมอุตสาหกรรมไทย-จีน จังหวัดระยอง” (ทุนอุดหนุน). มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.เดวิด หลิว. (29 มิถุนายน 2560). ผู้จัดการทั่วไป. สัมภาษณ์.
ปิติ ศรีแสงนาม. (2557). รุกฆาตอาเซียน. กรุงเทพฯ: บ้านพระอาทิตย์.
พาสนา พุทธิกาพล. (2552). “การส่งเสริมการลงทุนจากจีน: บทบาทของสถานกงสุลใหญ่และสำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน ณ นครเซี่ยงไฮ้” (รายงานการศึกษาส่วนบุคคล หลักสูตรนักบริห ารก ารทูต รุ่นที่ 1 ). ก รุง เ ท พ ม ห า น ค ร : ส ถ า บัน ก า ร ต่า ง ป ร ะ เ ท ศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.
ฟู่ เจิงโหย่ว. (15 มิถุนายน 2560). ที่ปรึกษาอาวุโสสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์.
วริศรา ภานุวัฒน์. (2556). ตานานเศรษฐีไทย. กรุงเทพฯ : แสงดาว.
วัชรี ถิ่นธานีสะอาด, บรรเจิดฤทธิ์บุญเรือง ศรีเหรัญ และวงศ์ธีรา สุวรรณิน. (2558). “ปัจจัยดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศไทย” (หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). ปทุมธานี: วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2557). สารานุกรมเศรษฐกิจจีน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ผู้จัดการ.
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน. (7 กรกฎาคม 2560). รู้จักจีน: ข้อมูลจีนทั่วไป. [ออนไลน์].แ ห ล่ ง ที่ ม า : http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/about-china/
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (7 กรกฎาคม 2560). การลงทุนจีนในไทย แนวโน้มขยายตัวรองรับการเข้าสู่
AEC. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.hooninside.com/community-detail.php?m=9&id=109675
ศูนย์วิจัยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์. (7 กรกฎาคม 2560). แหล่งความรู้ประชาคมอาเซียน:ค ว า ม สัม พัน ธ์อ า เ ซีย น -จี น . [อ อ น ไ ล น์]. แ ห ล่ ง ที่ ม า :
http://www.pandinthong.com/asean/partnership/china.php
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา. (8 สิงหาคม 2560). ปัจจัยส่งเสริมการลงทุน.[ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.itd.or.th/th/
สมภพ มานะรังสรรค์. (2551). ธุรกิจจีนในต่างแดน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน (7 กรกฎาคม 2560). ความสัมพันธ์ไทย-จีน. [ออนไลน์].แหล่งที่มา: http://www.thaizhong.org/index.php?lang=th
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (10 สิงหาคม 2560). China Information Center:ก า ร ค้า ไ ท ย -จีน . [อ อ น ไ ล น์]. แ ห ล่ง ที่ม า : http://chineseinfo.boi.go.th/index.php/information/detail/26
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา. (8 สิงหาคม 2560). อาเซียน: สาระน่ารู้. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:http://www.lib.buu.ac.th/webnew2/?page_id=1286
หลี่ เหริน เหลียง. (2555). “โอกาสในการส่งเสริมการลงทุนของจีนในไทยอย่างยั่งยืนวิเคราะห์จากมิติวัฒนธรรม” (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เหลา เซียว ปิง. (22 มิถุนายน 2560). ผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ. สัมภาษณ์.อักษรศรี พานิชสาส์น. (2554). ทุนจีนรุกอาเซียน. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจ.
Buthe, T. & Milner, H. V. (2008). The Politics of Foreign Direct Investment intoDeveloping Countries: Increasing FDI Through International TradeAgreement. American Journal of Political Science.Homilychart. (8 สิงหาคม 2560). ข้อมูลเศรษฐกิจทั่วโลก: ประเทศจีน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:http://www.homilychart.com/th/hgjj/gdp/gdp_1_th.html

เผยแพร่แล้ว

2020-04-25

How to Cite

พงษ์นัยรัตน์ ก. (2020). เหตุใด.ประเทศไทยจึงเป็นจุดสนใจของนักลงทุนจีน ?. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-02), 677–690. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/242257