แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการอยู่กับโลกธรรม ในพระพุทธศาสนาเถรวาท
คำสำคัญ:
โลกธรรม 8 , หลักพุทธธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อศึกษาหลักโลกธรรม 8 ในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2.เพื่อศึกษาปัญหาโลกธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมไทยอันเกิดจากโลกธรรม 3.เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการอยู่กับโลกธรรมในสังคมปัจจุบัน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากเอกสารจาก เอกสารขั้นปฐมภูมิ (Primary Source) ของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ปัญหาที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ ทั้งหน้าหนังสือพิมพ์ ข่าวออนไลน์ ในเฟซบุ้คเป็นต้นอันเนื่องมาจากถูกกระทบกับโลกธรรมจนกลายเป็นผู้ป่วยอันมี 3 โรคด้วยกัน คือ โรคเครียด โรคความวิตกกังวลทางสังคม และ โรคซึมเศร้าอันนาไปสู่สาเหตุของการฆ่าตัวตายของคนในสังคมปัจจุบัน สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ นาหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อการอยู่ร่วมกับโลกธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทว่าเป็นอย่างไรแล้วนามาสรุปบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1.จากการศึกษาในคัมภีร์ได้ข้อธรรมที่สามารถนาไปประยุกต์ใช้นั้นได้แก่ การมีโยนิโสมนสิการ ขันติคือความอดทนอดกลั้นต่อสิ่งที่มากระทบ ปัญญาใช้พิจารณาหาความจริงเพื่อทาความเข้าใจในความจริงของชีวิตและโลก พิจารณาให้เห็นไตรลักษณ์ และที่คัญคือจะต้องมีปรโตโฆสะคือกัลยาณมิตรที่คอยชี้ทาง แนะนา ตักเตือน เมื่อต้องประสบกับโลกธรรมจากผลการศึกษาทาให้ทราบว่า ในปัจจุบันคนในสังคมป่วยเป็นโรคหลักๆที่เกิดเนื่องด้วยโลกธรรมมีทั้งหมด 3 สาเหตุด้วยกัน ที่นาไปสู่สาเหตุของการฆ่าตัวตายทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก
- ความเครียด
- โรคความวิตกกังวลทางสังคม
- โรคซึมเศร้า
3.จากผลการวิจัย ผู้วิจัยวิเคราะห์ได้ว่าจากการที่ผู้วิจัยได้สังเคราะห์หลักธรรมออกมาได้จาก พระสูตรที่เกี่ยวเนื่องกับโลกธรรม 8 ผู้วิจัยมีความคิดเห็นว่าข้อธรรมในครั้งพุทธกาลที่พระพุทธองค์ทรงเน้นมาตลอดคือ การดารงจิตตั้งมั่นไม่ให้หวั่นไหว โดยใช้โยนิโสมนสิการในการพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงเกี่ยวกับโลกธรรมนั้นโดยมีพระพุทธองค์ทรงเป็นปรโตโฆสะ ในส่วนของการเป็นกัลยาณมิตรคอยให้คาแนะนาแก่พระสาวก อุบาสก อุบาสิกา แต่ในสังคมปัจจุบัน ผู้วิจัยสังเคราะห์ออกมาจากบทสัมภาษณ์ในส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิและบุคคลทั่วไปได้ว่า ปัญหาในปัจจุบันมีมากขึ้น มีความละเอียดอ่อนต่อสภาพจิตใจคนในทุกวันนี้มากขึ้น บริบทของคนในยุคปัจจุบันแตกต่างจากยุคปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง การที่คนจะเข้าถึงธรรม เพื่อน้อมนาไปปฏิบัติเป็นเรื่องยากการที่จะหาผู้รู้ธรรมมาเป็นกัลยาณมิตรคอยชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องตรงก็หายาก ทั้งที่มีสื่ออยู่ทั่วไปที่โพสต์บอกเกี่ยวกับข้อธรรม แต่อย่างวัยรุ่นทั่วไปก็เข้าใจธรรมะนั้นอย่างผิวเผิน ไม่ได้นำไปปฏิบัติจริง จะเห็นได้จากในสังคมออนไลน์ที่มีการโพสต์ธรรมะประชดกัน แข่งกันให้ดูดี แต่แท้ที่จริงตัวเองก็ยังพ่ายแพ้ให้กับโลกธรรม ไม่ได้มีการเอาชนะตนได้จริงอย่างที่สมควรฝึกหัดปฏิบัติ ดังนั้น หลักธรรมที่จะต้องนามาประยุกต์ใช้จึงมีมากขึ้นสาหรับคนในสังคมปัจจุบัน แต่หลักพุทธธรรมของพระพุทะองค์ยังทันสมัยอยู่เสมอ ยังเป็นธรรมที่ใช้ประคับประครองชีวิตได้ในทุกยุคทุกสมัย
References
แปลก สนธิรักษ์. (2532). พจนานุกรม บาลี –ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ จากัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรม (ฉบับปรับปรุงและขยายความ) . พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสมปอง มุทิโต. (2542). คัมภีร์อภิธานวรรณนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ธรรมสภา.
พระอุดรคณาธการ (ชวินทร์ สระคา). (2538) รศ.ดร.จาลอง สารพัดนึก. พจนานุกรมบาลี – ไทยสาหรับนักศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัทประยูรวงศ์พริ้นติ้ง จากัด.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สัททนีติปกรณ์ ธาตุมาลา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ, 2523.
สัมภาษณ์ ศาสตราจารย์พิเศษจานง ทองประเสริฐ.ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และเป็นอุปนายกสภามหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก , 12 กันยายน 2559.
สัมภาษณ์ พระศรีคัมภีรญาณ. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 22 กันยายน 2559.
สัมภาษณ์ ศาสตราจารย์วัชระ งามจิตรเจริญ, ศาสตราจารย์ ภาควิชาปรัชญา คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2 ตุลาคม 2559.
สัมภาษณ์ ดร.วีรชาติ นิ่มอนงค์. ผู้อานวยการหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาคณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ . 1 กันยายน 2559.
สัมภาษณ์ ดร.บุญเลิศ โอฐสู. ผู้อานวยการโครงการหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมนิเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 7 กันยายน 2559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น