การอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุของวัดขนอนอำเภอโพธาราม
คำสำคัญ:
รูปแบบการอนุรักษ์โบราณสถานโบราณวัตถุและศิลปวัตถุของวัดขนอนฯบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาหลักการและแนวคิดการอนุรักษ์โบราณสถานโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ (2) ศึกษาสภาพการ อนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ของวัดขนอน อำเภอโพธาราม (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนา การอนุรักษ์โบราณสถานโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุของวัดขนอน อำเภอโพธาราม/การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิเคราะห์เอกสาร (Document Analyze) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จานวน 25 รูป/คนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า
หลักการและแนวคิดการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ พบว่า ต้องมีการศึกษาค้นคว้าหาความจริงและเข้าใจการอนุรักษ์อย่างแท้จริงเพื่อให้เกิดความรู้ที่ถูกต้อง สามารถผสมผสานกลมกลืนจัดการทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้นควรจะให้ถูกต้องมีประสิทธิภาพ มีการวางแผนอย่างรอบคอบเพื่อรักษาทรัพยากรเหล่านั้น ให้บรรลุความต้องการในอนาคตและหมายรวมถึงการปองกัน การดูแล การรักษา เพื่อให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติอยู่คงทนต่อไปสภาพการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ของวัดขนอน อำเภอโพธาราม พบว่าในปัจจุบัน วัดขนอนเป็นวัดที่มีความสำคัญในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเป็นศูนย์รวมและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน ทางวัดได้พัฒนาปรับปรุงเพื่อเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม มีการแสดงหนังใหญ่ พิพิธภัณฑ์ฯลฯผู้ที่มาเที่ยววัดขนอนมีโอกาสแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ได้นมัสการพระพุทธรูปเก่าแก่สร้างสมัยอยุธยาตอนปลายภายในพระอุโบสถ และกราบสักการะหลวงปู่กล่อม คนมาเที่ยวชมวัดขนอนมีความหมาย 2ประการ 1.จังหวัดราชบุรี นั้นเป็น 1 ใน 12 จังหวัดที่ห้ามพลาดต้องมาเที่ยวชม 2.วัดขนอนเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นของจังหวัดราชบุรีแนวทางพัฒนาการอนุรักษโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุของวัดขนอนอำเภอ โพธาราม พบว่า พระสงฆ์ควรปฏิบัติการในเชิงรุกคือ ไม่รอให้คนเข้าไปหาถึงวัดควรจัดการประชาสัมพันธ์ข่าวสารตามช่องทางต่างๆให้ประชาชนมีความเข้าใจถึงความสำคัญทั้งภาครัฐหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องควรจัดอบรมถวายความรู้แด่พระสงฆ์และชาวบ้านในเรื่องการอนุรักษ์ภายในวัดและชุมชนสร้างมีจิตสำนึกในการทางานที่ประสานสอดคล้องกันทุกภาคส่วนในการดูแลอย่างจริงจังมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ด้วยเพื่อที่จะได้เรียนรู้และความสานึกรักท้องถิ่น
References
ชาญ เลี่ยวเส็ง. (2444). “ศึกษาบทบาทของวัดในการอนุรักษ์พุทธศิลป์เพื่อการท่องเที่ยว”วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. ศาสนาเปรียบเทียบ. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระครูวัชรสุวรรณาทร ธมฺมโชโต ลูกชุบ เกตุเขียว. (2558). “การประยุกต์ใช้อิทธิบาทธรรมเพื่อส่งเสริมกลยุทธ์การอนุรักษ์ โบราณสถานของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15”วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาการจัดการเชิงพุทธ. บัณฑิต
วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสมุห์วีรศักดิ์ วีรธมฺ โมนิโกรธา. (2558). “บทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย-มอญ : กรณีศึกษาชุมชนมอญ ตาบลดอนกระเบื้อง อาเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี.สาขาการจัดการเชิงพุทธ : บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย.
พระมหาขวัญ ถิรมโน. (2553). “วัดอรุณราชวราราม : บทบาทการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของวัดที่ ส่งผลต่อศรัทธา ของประชาชน”. วิทยานิพนธ์พุทธศาตรดุษดีบัณฑิต. สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,
พระวัชรากร ป ฺญาธโร. (2548). “บทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์ศาสนาวัตถุศึกษาเฉพาะกรณีการ อนุรักษ์(สิม) ในอาเภออาจสามารถจังหวัดร้อยเอ็ด”.วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกฉบับภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สาธิต กฤษตาลักษณ์. (2551). “การศึกษารูปแบบ การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการพัฒนาโบราณสถานในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต.มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุนีย์ ทองจันทร์. (2556). และคณะ “ปัญหาการบังคับใช้กฏหมายในการบริหารจัดการโบราณสถานโบราณวัตถุและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ศึกษากรณี เกาะเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา”รายงานวิจัย. สานักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
ศุภชัย สนธิรักษ ์. (2549). “ศักยภาพการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แหล่งโบราณสถานใน เขตองค์การบริหารส่วนตาบลหน้าประดู่ อาเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี”.วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
อัครพันธุ์ พันธุ์สัมฤทธิ์. (2545). “การศึกษาสถาปัตยกรรมในวัดราชาธิวาสสมอราย”. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น