ศึกษาวิเคราะห์ คุณค่าและความสำคัญของสลากย้อมที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรม ลำพูน

ผู้แต่ง

  • ไพรินทร์ ณ วันนา

คำสำคัญ:

คุณค่าและความสาคัญ, สลากย้อม , สังคมและวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เน้นการศึกษาวิเคราะห์ และตีความข้อมูลจากการวิจัยภาคสนาม และศึกษาตีความ วิเคราะห์ และสังเคราะห์โดยศึกษาจากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า สลากภัตในสมัยพุทธกาลมีความเป็นมาจากการอนุญาตภัตทั้ง 7 ของพระพุทธเจ้า หนึ่งในนั้นคือสลากภัต และเรื่องราวของนางยักษิณีที่มีเวรต่อนางกุมาริกาจนกลายเป็นที่มาของการถวายทานสลากภัตในสมัยพุทธกาล สลากภัตได้พัฒนาการมาเป็นลำดับและเข้าสู่ประเทศไทยตามการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในภาคเหนือนั้นมีประเพณีสลากภัตที่มีความโดดเด่น โดยเฉพาะที่จังหวัดลำพูน คือ สลากย้อม สลากย้อมในอดีต เป็นการถวายทานของหญิงสาวที่มีความพร้อมในการออกเรือนแต่งงาน เป็นกุศโลบายหนึ่งในการให้ผู้หญิงได้รู้จักเก็บออมทรัพย์สินเงินทอง ประหยัดมัธยัสถ์ และรู้จักการทำบุญสุนทาน ความสำคัญของสลากย้อมที่มีต่อสังคมวัฒนธรรม ลำพูน ปรากฏในเรื่องของการพัฒนามนุษย์ ที่สลากย้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและมีหลักธรรมปรากฏอยู่ในวิถีของสลากย้อม การมครองและสวัสดิการสังคม ปรากฏในด้านการช่วยเหลือทางสังคมที่ชุมชนเป็นผู้ช่วยเหลือวัด และชุมชนใช้ประโยชน์ร่วมกันจากวัดอันเป็นผลมาจากการทำสลากย้อม ด้านสิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ปรากฏในแง่ของการสร้างความเท่าเทียมกันทางสังคมระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงและเป็นการให้เกียรติสตรีเพศในการมอบบทบาทผู้นำในการทำสลากย้อม การสร้างความเสมอภาคและสิทธิเท่าเทียมกันในสลากภัตทานของพระสงฆ์ ด้านความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม ปรากฏในด้านภูมิปัญญาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและการประยุกต์ใช้สิ่งแวดล้อมในชุมชนเป็นเครื่องมือในการทาต้นสลากย้อม และการใช้ไม้ วัสดุธรรมชาติในการทำสลากย้อม รวมถึงการประดับตกแต่งใสวยงาม ด้านการสร้างอัตลักษณ์ปรากฏในเรื่องของการสร้างอัตลักษณ์ร่วมกันของสลากย้อมที่คนจังหวัดลาพูนมุ่งหวังที่จะเป็นเจ้าของร่วมกัน และด้านการลดช่องว่างทางการพัฒนา ปรากฏในเรื่องของการลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ คือระบบเศรษฐกิจชุมชน

References

ขวัญนภา สุขคร, นายนพพร แพทย์รัตน์, นางสาวพัชพร วิภาศรีนิมิต. (2557). ประเพณี อารยธรรมล้านนา คุณค่าศรัทธาและความเชื่อ. โครงการเสริมสร้างและปรับแต่งอัตลักษณ์(Identity) เพื่อสร้างเสน่ห์การท่องเที่ยว การค้าและการลงทุนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กิจกรรม ตามรอยอารยธรรมล้านนา ปีงบประมาณ 2557.
นิรันดร์ ภักดี. (2556). “บทบาทและคุณค่าของงานปอยหลวงต่อสังคมวัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่
และลำพูน”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ประพันธ์ กุลวินิจฉัย. (2555). เทศกาลและพิธีกรรมพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ :มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สรัสวดี อ๋องสกุล. (2557). ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

เผยแพร่แล้ว

2020-04-18

How to Cite

ไพรินทร์ ณ วันนา. (2020). ศึกษาวิเคราะห์ คุณค่าและความสำคัญของสลากย้อมที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรม ลำพูน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-02), 295–308. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/241894