กลยุทธ์การจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูภาวนาอินทวงศ์

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การจัดการโรงเรียนการกุศล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปการจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา 2. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาการจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา จังหวัดราชบุรี และ 3. นำเสนอกลยุทธ์การจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา จังหวัดราชบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ผู้อำนวยการ บุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ศิษย์เก่าโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา และนักวิชาการทางพระพุทธ ศาสนา โดยการเลือกแบบเจาะจงตามลักษณะการเป็นตัวแทนของกลุ่มที่เหมาะสม สาหรับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จานวน 25 รูป/คน ใช้แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 10 รูป/คน ได้ใช้แบบบันทึกการสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพทั่วไปการจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา พบว่า (1) การดำเนินงานของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาเป็นภารกิจในการเกื้อกูลการศึกษาของคณะสงฆ์โดยจัดการศึกษาสงเคราะห์แก่เด็กและเยาวชนที่ยากจน (2) โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนามุ่งพัฒนาคุณภาพทางความรู้และคุณภาพจิตใจและความประพฤติควบคู่กันไปตามวิถีพุทธ (3) การบริหารจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาแต่ละโรงเรียนมีความแตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละโรงเรียน (4) โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาได้รับการควบคุมคุณภาพการจัดการศึกษาโดยสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ. และ (5) ปัจจุบันมีการแข่งขันสูงระหว่างโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนากับโรงเรียนประเภทอื่น

2.ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาการจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา จังหวัดราชบุรี พบว่า (1) ความสามัคคีร่วมมือกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ บุคลากรภายในของโรงเรียน ภาคคณะสงฆ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน (2) ทรัพยากรทางการบริหาร ได้แก่บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และการจัดการ (3) ต้นทุนทางสังคมของวัดที่เป็นฐาน ได้แก่ความสามารถในการสนับสนุนงบประมาณ และความศรัทธาของประชาชน (4) มาตรฐานของหลักสูตรได้แก่ สมรรถนะของผู้เรียน คือ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความ สามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และ (5) ความเชื่อมั่นของผู้ปกครอง ได้แก่ ความเชื่อมั่นที่มีต่อความสามารถในการสร้างคนดีและคนเก่ง

3.กลยุทธ์การจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา จังหวัดราชบุรี ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน พบว่า (1) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน คือ กลยุทธ์การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรต่าง ๆ ในการจัดการศึกษาและพัฒนาโรงเรียน (2) ด้านหลักสูตรและการสอน คือ กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาวิถีพุทธตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (3) ด้านกิจกรรมนักเรียน คือ กลยุทธ์การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนและสร้างจิตสานึกความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลกตามวิถีพุทธ (4) ด้านการบริหารงานบุคคล คือ กลยุทธ์การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาและเสริมสร้างขวัญกาลังใจในการปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ (5) ด้านการบริหารอาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ คือ กลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และ (6) ด้านธุรการ คือ กลยุทธ์การพัฒนาการบริหารงานธุรการโรงเรียนที่ส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานการปฏิบัติงาน

เผยแพร่แล้ว

2020-04-13

How to Cite

พระครูภาวนาอินทวงศ์. (2020). กลยุทธ์การจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาจังหวัดราชบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-02), 1–14. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/241714