การศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของการสวดพระพุทธมนต์ที่มีต่อสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • อธิเทพ ผาทา

คำสำคัญ:

คุณค่าการสวดพระพุทธมนต์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประวัติ ความเป็นมาของการสวดมนต์ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา(2) เพื่อศึกษาบทสวดมนต์และรูปแบบการสวดมนต์ของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาในเอเชีย (3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บทสวดมนต์ หลักพุทธธรรม และคุณค่าของการสวดมนต์ที่มีต่อสังคมไทยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Research) โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการประชุมกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญ(Focus
Group) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย (Inductive Analysis) ผลการวิจัยพบว่า การสวดพระพุทธมนต์นั้นมีคุณค่าต่อสังคมไทย คือ (1) มีคุณค่าต่อการพัฒนาชีวิต คือ ทำให้เกิดศรัทธาและเร่งเร้าให้สร้างความดี (2) มีคุณค่าในด้านการพัฒนาสติปัญญา คือ การสวดมนต์ทาให้จิตใจสงบและหากพิจารณา ตามบทสวดมนต์ก็สามารถสร้างเสริมสติปัญญาได้ (3) มีคุณค่าในการศึกษาหลักคำสอน คือ การกระตุ้นให้สังคมเกิดความสนใจในคำสอนที่ปรากฏในบทสวดมนต์แต่ละบทนั้น (4) มีคุณค่าในด้านการพัฒนาจิตใจ คือ การสวดมนต์ถือว่าเป็นการทาสมาธิอย่างหนึ่งเมื่อจิตสงบย่อมมีผลต่อการกระทำในด้านอื่นๆได้ (5) มีคุณค่าในการพัฒนาสังคม คือ การสวดมนต์ถือว่าเป็นกิจกรรมของชุมชนหรือสังคมที่มี การจัดเตรียมสถานที่และพิธีกรรมมีการมาร่วมกันสวดมนต์ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมที่มีส่วนสร้างความสามัคคีให้เกิดกับชุมชนอย่างหนึ่ง

References

ชวน เพชรแก้ว. (2520)การศึกษาวรรณคดีไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์.
เทพพร มังธานี. (2542). มนต์พิธีแปล ฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพมหานคร : เลี่ยงเซียง.
ธนิต อยู่โพธิ์. (2537). อนุภาพพระปริตต์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงราชวิทยาลัย.
ประเสริฐ บุญตา. (2547) พาหุงฯ การเผชิญภัยของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรุงเทพฯ.
พ.ท. ประสานทองภักดี. (2543) พุทธวิธีชนะ. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฏก. (ป.อ.ปยุต โต). (2546) พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์.กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระวรเวทย์พิศิฐ์. วรรณคดีไทย. (2534) กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
มนต์ ทองธัช. (2534). 4 ศาสนาสาคัญของโลก. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2533 – 2534) อรรถกถาภาษาบาลี. ฉบับมหาจุฬาอฏฐกถา.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยโรงพิมพ์วิญญาณ.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2535) พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏก 2500.กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539) พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534) พระไตรปิฏกพร้อมอรรถกถา แปล. ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
วศิน อินทสระ. (2545) พุทธชัยมงคลคาถา ชัยชนะ 8 ครั้งของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร :โอเอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
เวทิส ประทุมศรี. ศึกษาประสิทธิภาพของการสวดมนต์แปลมาเสริมกับการรักษาโรคซึมเศร้าด้วย ยาfluoxetine ในวารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2556 ; 58 (1): 67-74.
ศ.เสฐียร พันธรังษี. (2534). ศาสนาโบราณ. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระสังฆราช. (สาปุสสาเทว). (2522) สวดมนต์ฉบับหลวง. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สัมฤทธิ์ บัวระมวล (บรรณาธิการ). (2537) ชัยชนะของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร :สานักพิมพ์คุ้มค่า.
สารวย นักการเรียน.(2546) ธรรมะจากเจ็ดตานาน สิบสองตานานและคาถาพาหุง.กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุชีพ บุญญานุภาพ (2533) พระไตรปิฎกสาหรับประชาชน. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฎราชวิทยาลัย.
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2535) พุทธธรรมที่เป็นรากฐานสังคมไทย ก่อนสมัยสุโขไทยถึงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสถียร โพธินันทะ. (2515) ภูมิประวัติพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : บรรณาคาร.
อดิศักดิ์ ทองบุญ. (2546). ปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เผยแพร่แล้ว

2020-04-13

How to Cite

ผาทา อ. . (2020). การศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของการสวดพระพุทธมนต์ที่มีต่อสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-04), 693–702. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/241698