การพัฒนารูปแบบการบริหารสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 4

ผู้แต่ง

  • พระครูพิสิทธิ์ธรรโมภาส (ประสิทธิ์ ชิตมาโร)

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การบริหาร, สานักปฏิบัติธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารงานสานักปฏิบัติ
ธรรมประจาจังหวัดดีเด่นในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 4 2) เพื่อศึกษาหลักการและวิธีการ
บริหารงานสานักปฏิบัติธรรมประจาจังหวัดดีเด่นในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 4 และ 3) เพื่อ
นาเสนอการพัฒนารูปแบบการวิธีการบริหารงานสานักปฏิบัติธรรมประจาจังหวัดดีเด่นในเขต
ปกครองคณะสงฆ์ ภาค 4
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพทั่วไปของการบริหารงานสานักปฏิบัติธรรมประจาจังหวัดดีเด่นในเขตการ
ปกครองคณะสงฆ์ ภาค 4 พบว่า ด้านสถานที่มีความสะดวก สงบ สะอาด ปลอดภัย และเพียงพอ
ในการใช้เพื่อปฏิบัติธรรม ด้านวิทยากรเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ มีภาวะผู้นา มีความสามัคคีปรองดองกัน
ด้านการจัดการมีระบบงานที่ดี มีผลงานที่โดดเด่น และเน้นความโปร่งใส
2. หลักการและวิธีการบริหารงานสานักปฏิบัติธรรมประจาจังหวัดดีเด่นในเขตปกครอง
คณะสงฆ์ ภาค 4 พบว่า มี 3 ด้านได้แก่ ด้านสถานที่เป็นไปตามหลักอาวาสสัปปายะ มีความสะดวก
สงบ สะอาด ปลอดภัยและมีความเพียงพอต่อผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรม ด้านวิทยากรเป็นไปตามหลัก
บุคคลสัปปายะต้องมีความรอบรู้ มีภาวะผู้นา สามารถนาความสามัคคีปรองดองให้กับผู้เข้าร่วม
ปฏิบัติธรรม ด้านการบริหารจัดการเป็นไปตามธัมมสัปปายะ คือ ต้องมีการจัดการระบบที่ดี มี
ผลงานเป็นที่ประจักษ์โดดเด่น โดยเน้นการบริหารด้วยความโปร่งใส ประยุกต์ใช้กับหลักสาราณีย
ธรรม 6 ประการ ได้แก่ เมตตากายกรรม คือ ทาต่อกันด้วยความเมตตาเมตตาวจีกายกรรม คือ พูด
กันด้วยความเมตตา เมตตามโนกรรม คือ คิดต่อกันด้วยความเมตตา สาธารณโภคี คือ แบ่งปันสิ่งที่
ได้มาด้วยความชอบธรรม สีลสามัญญตา มีความประพฤติเสมอภาคกันและ ทิฏฐิสมัญญตา คือ การ
ปรับความคิดเห็นด้วยเหตุผล ถูกต้องเหมือนกัน
3. การพัฒนารูปแบบการบริหารสานักปฏิบัติธรรมประจาจังหวัดดีเด่นในเขตปกครอง
คณะสงฆ์ ภาค 4 พบว่า มี 3 รูปแบบได้แก่ 1) รูปแบบการพัฒนาสถานที่มีการจัดสภาพแวดล้อมที่ ดี เป็นสถานที่สารวมวาจาสานักปฏิบัติธรรมที่รักษาสิ่งแวดล้อม ทุกคนพร้อมปฏิบัติตามกฎระเบียบ
เพียบพร้อมด้วยคนทาความดี อยู่บนวิถีทางสายกลาง 2) รูปแบบการพัฒนาวิทยากรให้มีความรู้ มี
ทักษะที่ดีมีวาจาศิลป์สร้างสรรค์สร้างขวัญ กาลังใจในการทางาน มีน้าใจเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น มีมนุษย
สัมพันธ์ และมีทัศนคติเชิงบวก 3) รูปแบบrการพัฒนาการจัดการ มีการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม
การสื่อสารที่สร้างสรรค์ มีจิตสานึกร่วมกันรับผิดชอบแบ่งปันทั่วถึงและเป็นธรรมคานึงถึงศีลเป็นฐาน
ความคิด สานสัมพันธ์ด้วยการเป็นกัลยาณมิตรทีดีต่อกัน

References

กองพุทธศาสนศึกษา. (2557).สานักปฏิบัติธรรมประจาจังหวัดดีเด่น 90 สานักประจาปีพุทธศักราช
2556. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2549). หลักรัฐประศาสนศาสตร์แนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร:
เอ็กซปอร์ตเน็ต.
พระครูศรีปริยัติคุณาภรณ์. (2555).“การปฏิบัติกรรมฐานของนักศึกษาในโครงการฝึกอบรม
กรรมฐานภาคปฏิบัติ 2555 ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดมกุฏคีรีวัน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราช
วิทยาลัย”. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระครูศรีรัตนธรรมนิเทศ. (2556). “รูปแบบการบริหารจัดการสานักปฏิบัติกัมมัฎฐานของผู้นาชาว
พุทธในประเทศอังกฤษ”. พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหา
จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหากังวาล ธีรธมฺโม (ศรชัย). (2558). “การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสานักปฏิบัติ
ธรรมประจาจังหวัด”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ.
บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เผยแพร่แล้ว

2020-04-11

How to Cite

(ประสิทธิ์ ชิตมาโร) พ. . (2020). การพัฒนารูปแบบการบริหารสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 4. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-04), 421–432. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/241616