รูปแบบการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมเพื่อความโปร่งใส ในการบริหารราชการของสานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
คำสำคัญ:
สานักงานศาลรัฐธรรมนูญ, การบริหารราชการ, ความโปร่งใสบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาบริบททั่วไปของความโปร่งใสใน
การบริหารราชการของสานักงานศาลรัฐธรรมนูญ 2. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารราชการของ
สานักงานศาลรัฐธรรมนูญ และ 3. เพื่อเสนอรูปแบบในการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมเพื่อความ
โปร่งใสในการบริหารราชการของสานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี
โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จานวน 17 รูป/
คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านศาสนา นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์
วิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาเชิงพรรณนา และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับ
ข้าราชการสานักงาน ศาลรัฐธรรมนูญ และลูกจ้างสานักงานศาลรัฐธรรมนูญ จานวน 130 คน เป็น
ประชากรกลุ่มศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา คือ จานวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่า
เบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. บริบททั่วไปของความโปร่งใสในการบริหารราชการของสานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
1) ด้านการวางแผนมีการประชุมกันเป็นประจาและประชุมบ่อยครั้ง 2) ด้านการจัดองค์การควรเน้น
การยึดกฎ ระเบียบ การตรวจสอบได้ และการขัดกันแห่งผลประโยชน์ 3) ด้านการจัดคนเข้าสู่
ตาแหน่งต้องยึดหลักความโปร่งใส เป็นธรรม เช่น หลักความรู้ ความสามารถ หลักความอาวุโส
ในทางราชการ และปราศจากการก้าวก่ายแทรกแซง 4) ด้านการสั่งการต้องยึดระเบียบ กฎหมาย
ปราศจากการชี้นา ข่มเหง หรือข่มขู่ 5) ด้านการประสานงานต้องเน้นการมีส่วนร่วมในการ
ปฏิบัติงาน มีความสามัคคี ยึดหลักประชาธิปไตย 6) ด้านการรายงานผลต้องตรวจสอบ
การปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง ตระหนักถึงข้อมูลข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง และ
7) ด้านการงบประมาณต้องยึดหลักความคุ้มค่า ความโปร่งใส และสุจริต
2. ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารราชการของสานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พบว่า ผลกระทบ
ต่อการบริหารราชการของสานักงานศาลรัฐธรรมนูญตามทฤษฎีการบริหารแบบหลักการจัดระเบียบ
องค์การ (POSDCORB) ต้องมีการนามาปรับใช้กับหลักอปริหานิยธรรม เพราะหากไม่มี
การประยุกต์ใช้ควบคู่กันแล้วอาจไม่สัมฤทธิผลในทางปฏิบัติ และจะส่งผลกระทบต่อการบริหาร
ราชการของสานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่อาจไม่ตั้งมั่นอยู่บนหลักความโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้
3. รูปแบบในการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมเพื่อความโปร่งใสในการบริหารราชการ
ของสานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พบว่า หลักอปริหานิยธรรมและหลักธรรมอื่น ๆ สามารถนามาปรับ
ใช้เพื่อให้การบริหารราชการของสานักงานศาลรัฐธรรมนูญเกิดความโปร่งใสได้ ดังนี้ ด้านการวางแผน
ใช้รูปแบบ MANAGE Model กล่าวคือ มีการวางกลยุทธ์ มีแผนงาน โครงการ เพื่อให้การ
บริหารราชการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้อง รวดเร็ว และเกิดประโยชน์แก่ทางราชการมีการ
บริหารความเสี่ยง ด้านการจัดองค์การ ใช้รูปแบบ HOME Model ที่ส่งเสริมความมีคุณธรรม
จริยธรรม ความพร้อมเพรียง สามัคคี ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ด้านการจัดคนเข้าสู่ตาแหน่ง ใช้
รูปแบบ CHAIR Model ให้มีการคัดกรองผู้มีคุณสมบัติที่มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่
ให้เหมาะสมกับตาแหน่ง ยึดถือระเบียบ กฎหมายเป็นหลัก ด้านการสั่งการใช้รูปแบบ ORDER
Model กล่าวคือ ทั้งผู้รับคาสั่งและผู้สั่งต้องรู้หน้าที่ของตนในการปฏิบัติการต่างๆ และต้องตั้งอยู่
บนความชัดเจน แน่นอน ไม่เลือกปฏิบัติ และปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ด้านการ
ประสานงาน ใช้รูปแบบ LINE Model ต้องตั้งอยู่บนหลักความโปร่งใส การมีส่วนร่วมในการ
ปฏิบัติงาน และให้เกียรติซึ่งกันและกัน ด้านการรายงานผล ใช้รูปแบบ OUT Model โดยต้องรายงาน
ผลด้วยข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเป็นระบบสม่าเสมอ ไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง และต้องมีหลักประกัน คุ้มครองปูองกันผู้รายงานผลที่ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต และด้านการงบประมาณใช้รูปแบบ KEEP
Model คือ ต้องคานึงถึงความคุ้มค่า โปร่งใส สุจริตและตรวจสอบได้
References
Cliffs :new Jersey Prentice-Hall. Lnc.
Don Hellriegel. (1982). Management. third edition. Addison - Wesley Publishing
Company. lmc.
Enest Dale. (1993). Management : Theory and Ptactictice. New York : Mc Graw – Hill.
Gulick L. and Urwick J.. (1973). Papers on the Science of Administration. New York
:Institute of Public Administration.
Henri Fayol (1930). Industrial and General Administration, New York : Mc-Grew Hill.
Max Weber,. (1947).The Theory of Social and Economic Organizations. Translated
by A.M.Handerson and T. Parsons. New York : Free Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น