การมีส่วนร่วมสร้างชุมชนเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม ชุมชนเข้มแข็งบทคัดย่อ
บทความเรื่องการมีส่วนร่วมสร้างชุมชนเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างชุมชน
เข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างชุมชนเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม จำแนก ตาม
ปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างชุมชนเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างที่
ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด จานวน 380 คน โดยการใช้สูตรของยามาเน่ (Yamane) สุ่มตัวอย่างมาศึกษาโดยวิธีแบ่งชั้น (Stratified Random
Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามประมาณค่า (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าคะแนนเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(Standard Deviation) วิเคราะห์ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วม และใช้ค่า t-test และ F-testวิเคราะห์ความแตกต่าง
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีจานวน 196 คน คิดเป็นร้อยละ 48.4 มี
อายุ 31 – 45 ปี มีจานวน 172 คน คิดเป็นร้อยละ 45.3 ส่วนใหญ่ มีอาชีพเกษตรกรรม มีจานวน
149 คน คิดเป็นร้อยละ 39.2 มีวุฒิการศึกษาต่ากว่าปริญญาตรีมีจานวน 314 คน คิดเป็นร้อยละ
82.6 มีระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน 11-30 ปี มีจานวน 157 คน คิดเป็นร้อยละ 41.3
2. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างชุมชนเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
สมุทรสงคราม โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง
3. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างชุมชนเข้มแข็งของ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม จาแนกตาม เพศ อายุ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน
พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนเข้มแข็งไม่แตกต่างกัน เมื่อจาแนกตามอาชีพ วุฒิ
การศึกษา พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทาง
สถิติที่ระดับ 0.05
4. ปัญหา อุปสรรคการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างชุมชนเข้มแข็งขององค์การ
บริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม คือ ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจในการ
วางแผนโครงการหรือกิจกรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดน้อย ไม่สามารถเข้าร่วมปฏิบัติตาม
นโยบาย แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทาขึ้น ไม่ได้รับการบริการ
งานสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามที่ประชาชนต้องการ ไม่มีส่วนร่วมในการ
ตรวจสอบงบประมาณที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดนาไปใช้
References
การมีส่วนร่วมของผู้นาและประชาชนในการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งเมืองน่า
อยู่ กรณีศึกษา : เทศบาลเมืองลาพูน อาเภอเมือง จังหวัดลาพูน. การค้นคว้าแบบอิสระ :
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ไพรัตน์ เตชะรินทร์. (2527). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การพัฒนา
ปัจจุบัน ในการส่วนร่วมของประชาชนในพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์
ศักดิ์โสภณการพิมพ์.
พศิน อินทะวังโส. (2556). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักสาราณียธรรม
ขององค์การบริหารส่วนตาบลในอาเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี. การศึกษาอิสระ ;รัฐ
ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เพลินพิศ งามสง่า. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อ กระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
กรณีศึกษา อาเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
นรินทร์ชัย พัฒนาพงศา. (2538). แนวทางการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชนบท. พิมพ์ครั้ง
ที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
วรเดช เห็นภักดี. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาคมในการจัดทาแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วน
ตาบลศึกษาเฉพาะกรณี :องค์การบริหารส่วนตาบลบ้านม่วง อาเภอสังคม จังหวัด
หนองคาย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วราภรณ์ กันทะแสง. (2555). ศักยภาพในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารองค์การบริหาร
ส่วนตาบล. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
วิญญู อังคณารักษ์. (2549). แนวความคิดในการกระจายอานาจการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ :
วัชรินทร์การพิมพ์.
ชยพล สุขประชา. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการปฏิบัติงานตามอานาจ
หน้าที่ของคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตาบลในจังหวัดร้อยเอ็ด. การศึกษา
อิส ร ะ รัฐ ป ร ะ ศ า ส น ศ า ส ต ร ม ห า บัณ ฑิต . วิท ย า ลัย ก า ร ป ก ค ร อ ง ท้อ ง ถิ่น
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร : สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น