การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามหลักพุทธธรรมของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี, หลักพุทธธรรม, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการ
บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี และ 3) เพื่อ
ศึกษาแนวทางในการสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามหลักพุทธธรรมขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บ
ข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสาคัญ จานวน 19 รูป/คน ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง โดยวิธีการ
สัมภาษณ์เชิงลึกแบบตัวต่อตัวและการสนทนากลุ่มเฉพาะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ และ
การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.937 จากกลุ่ม
ตัวอย่างคือพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบอย่างง่าย จานวน 363 คน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการ
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ประสิทธิผลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี
โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X =3.92) และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านโดยเรียงตามลาดับค่าเฉลี่ยจาก
มากไปหาน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดได้แก่ หลักนิติธรรม รองลงมาหลักคุณธรรม หลักความคุ้มค่า
หลักการมีส่วนร่วม หลักความโปร่งใส และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดได้แก่ หลักความรับผิดชอบ
ตามลาดับ2. ปัจจัยด้านหลักธรรมาภิบาล มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ตามหลักพุทธธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี ในระดับค่อนข้างสูง คือ
หลักคุณธรรม ยึดมั่นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต (Y2) มีค่าเท่ากับ .725 หลักความโปร่งใส ใน
การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน (Y3) มีค่าเท่ากับ .658 หลักความคุ้มค่า โดย
มุ่งเน้นผลงานเกิดประโยชน์สูงสุด (Y6) มีค่าเท่ากับ .624 หลักนิติธรรม มีความยุติธรรม ตรวจสอบ
ได้ (Y1) มีค่าเท่ากับ .588 หลักความรับผิดชอบ มีกาหนดปฏิทินการทางาน (Y5) มีค่าเท่ากับ .401
มี หลักการมีส่วนร่วม ในการสนับสนุนให้ประชาชนร่วมบริหาร (Y4) มีค่าเท่ากับ .349 ปัจจัยด้าน
หลักอิทธิบาท 4 มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ที่มีความสัมพันธ์ใน
ระดับสูง คือ หลักจิตตะ อย่างการเอาใจใส่ (Y3) มีค่าเท่ากับ .663 ด้านหลักวิมังสา มีการพิจารณา
อย่างรอบคอบ (Y4) มีค่าเท่ากับ .619 ด้านหลักวิริยะ ด้วยความพยายาม (Y2) มีค่าเท่ากับ .606
ด้านหลักฉันทะ ประชาชนมีความพอใจ (Y1) มีค่าเท่ากับ .598
3. แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามหลักพุทธธรรม
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี ใน หลักนิติธรรม แนวทางการพัฒนา คือ
สร้างความยินดีในการดาเนินงานยุติธรรม และตรวจสอบได้ ยึดกฎหมายและกฎเกณฑ์ปกป้องคนดี
ลงโทษคนทาผิด เอาใจใส่ในการปรับกฎหมายให้เหมาะกับสภาพการณ์ ไตร่ตรอง กฎระเบียบ
ข้อบังคับ และเป็นธรรม ประชาชนยอมรับและปฏิบัติตาม ใคร่ครวญชี้แจงถึงสิทธิเสรีภาพ หน้าที่
ของตนเอง และเข้าใจกฎเกณฑ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลักคุณธรรม แนวทางการพัฒนา
คือ ยึดมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต จัดสรรงบประมาณ ครอบคลุมพื้นที่อย่าง
ทั่วถึง เปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน มีการพิจารณาใคร่ครวญการบริหารอยู่
เสมอ ให้บริการกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยความเป็นธรรม เท่าเทียม หลักความ
โปร่งใส แนวทางการพัฒนา คือ สร้างความยินดีในการเผยแพร่มติการประชุมที่มีผลกระทบต่อ
ประชาชน เผยแพร่ผลการดาเนินงานตามแผนงาน/โครงการต่างๆ ให้ประชาชนรับรู้ ใช้กฎหมาย
ระเบียบ คาสั่งข่าวสารราชการที่ประชาชนควรรู้และต้องปฏิบัติ จัดซื้อจัดจ้าง โดยเฉพาะการสอบ
ราคาหรือประกวดราคา หลักการมีส่วนร่วม แนวทางการพัฒนา คือ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ
จัดทาสื่อเผยแพร่ ให้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลระหว่างรัฐกับประชาชน เอาใจใส่
ประชาชนที่มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการ และคณะที่ปรึกษาฝ่ายประชาชน และมีเหตุผลในการเข้า
ร่วมเพื่อเสริมให้ข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อการตัดสินใจ หลักความรับผิดชอบ แนวทางการพัฒนา คือ
สร้างความยินดีในการปฏิบัติงานแบบมุ่งเน้นผลงานและมุ่งเน้นคน มอบหมายงานให้ตรงตามความรู้
ความสามารถของบุคลากร เอาใจใส่การบริหารจัดและจัดสรรการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและ
เกิดประโยชน์อันสูงสุดแก่ส่วนรวม พิจารณาการจัดซื้อ/จัดจ้างอย่างเปิดเผย คุ้มค่า เที่ยงธรรม อย่าง
รอบคอบ หลักความคุ้มค่า แนวทางการพัฒนา คือ กาหนดปฏิทินการปฏิบัติงาน รับผิดชอบการ
บริหารและบริการชุมชน จัดกิจกรรมสร้างจิตสานึกความจงรักภักดีแก่เจ้าหน้าที่ และตรวจสอบและ
ปรับปรุงข้อบกพร่องใน วางแผน วัดผล อยู่เสมอ
References
in the river Chee-Moon in Ubonratchathani Province. Dissertation
Graduate School : MCU.
Suwat Inpraphai. (2557). The Participation of the People in Water Human Resources
Management for od in the Paasak River , Dissertation Graduate School :
MCU.
Thanat Keawcharearnphisan. (2557). Water Human Resort Management for Protect
of flood in the river Chee-Moon in Ubonratchathani Province, Dissertation
Graduate School : MCU.
Jittima Phakpheang . (2558). The Model of Administrative according to
Buddhadhamma of Provincial Administrative organization in lower Central
Area. Dissertation Graduate School, MCU.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น