รูปแบบธรรมราชาในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • พระครูสุนทรเขมาภินันท์

คำสำคัญ:

ธรรมราชา, ธรรมราชาในสังคมไทย, รูปแบบธรรมราชาในสังคมไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาธรรมราชาใน
พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเป็นธรรมราชาของพระมหากษัตริย์ใน
สังคมไทย และ 3) เพื่อนาเสนอรูปแบบธรรมราชาในสังคมไทย ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิง
คุณภาพ (Qualitative Research) เชิงพุทธบูรณาการ โดยเน้นการศึกษาในเชิงเอกสาร ศึกษา
ค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตารา บทความวิชาการ และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัยและพรรณนาความ โดยใช้ทฤษฎีสังคมวิทยาเป็น
กรอบในการวิเคราะห์ 5 ทฤษฎี คือ 1. ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ 2. ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน
3. ทฤษฎีอรรถประโยชน์ 4. ทฤษฎีการขัดแย้ง และ 5. ทฤษฎีปรากฏการณ์นิยม
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า แนวคิดเรื่องธรรมราชามีปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
วาท แบ่งออกเป็นแนวคิดทางธรรม หมายถึง พระพุทธเจ้าทรงปกครองโดยธรรม และแนวคิดทาง
โลก หมายถึง ราชาหรือผู้นาที่ปกครองโดยใช้หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา ข้อที่สองพบว่าธรรม
ราชาในสังคมไทย มีพระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นธรรมราชาต้นแบบทางโลก ที่มุ่งสร้างอัตตหิต
สมบัติและปรหิตปฏิบัติ คุณลักษณะธรรมราชาในสังคมไทย 4 ด้าน คือ 1. ด้านกายภาพ คือ
คุณสมบัติภายนอกที่เกิดขึ้นด้วยอานาจบุญ 2. ด้านพฤติภาพ คือภาวะอันส่งผลต่อพฤติกรรมที่
ประกอบด้วยพุทธภาวะ มีกรอบแห่งศีล 5 และกุศลกรรมบถ 10 เป็นพื้นฐาน 3. ด้านจิตภาพ คือ
ภาวะอันส่งผลต่อสภาวะจิตใจ เป็นแนวทางการพัฒนาทางด้านจิตใจตามหลักทศพิธราชธรรม
4 . ด้านปัญญาภาพ คือภาวะอันส่งผลต่อการที่จะเอาชนะหมู่สัตว์ทั่วแผ่นดินด้วยราชธรรมนั้น ซึ่ง
ผู้ปกครองจะต้องมีความเฉลียวฉลาดในการบริหารจัดการรัฐและครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อ
ประโยชน์สุขแห่งมหาชน ข้อที่สามพบว่ารูปแบบธรรมราชาในสังคมไทยประกอบ 3 ประการคือ 1) รูปแบบภาวะผู้นาตามแนวการจัดการเชิงพุทธ 2) รูปแบบการนาศาสตร์ต่างๆ มาประยุกต์ใช้ตาม
สถานการณ์ (ศาสตร์พระราชา) และ 3) รูปแบบการสื่อสารเชิงจิตวิทยามวลชนแนวพุทธ ใน
การศึกษาเรื่องรูปแบบธรรมราชาในสังคมไทยพบว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย
เดชทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียว ที่ทรงมีความเป็นธรรมราชาในสังคมไทยอย่างสมบูรณ์
แบบทั้งคุณลักษณะ 4 ด้าน 

References

กรมตารา กระทรวงธรรมการ. พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (พระ
เจ้าตากสิน). จุลศักราช 1128 ถึง 1144, 2472.
กรมศิลปากร. (2526). จารึกสมัยสุโขทัย กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในโอกาสฉลอง 700 ปี ลายสือ
ไทยพุทธศักราช 2526. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร,
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2551). พระบรมธรรมิกราช. กรุงเทพฯ:
สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชะม้อย คุมพล. (2553). การศึกษาวิเคราะห์เชิงพุทธจริยธรรมการบริหารราชการแผ่นดินในสมัย
รัชกาลที่ 1 ที่ปรากฏในไตรภูมิวินิจฉยกถา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิต
วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ดร.สุทิติ ขัตติยะ, วิไลลักษณ์ สุวจิตตานนท์. (2554). แบบแผนการวิจัยและสถิติ. กรุงเทพฯ: บจ.
ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง.
นครินทร์ แก้วโชติรุ่ง. (2556). “รูปแบบและหลักการของการปกครองในพระไตรปิฎก”. สารนิพนธ์
พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม). (2553) “การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดธรรมราชาตาม
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา”. รายงานวิจัย. ทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, MCU RS 610654033.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) (2558).พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ชาระ-
เพิ่มเติม ช่วงที่ 1/ยุติ), พิมพ์ครั้งที่ 23, กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ผลิธัมม์ ในเครือบริษัท
สานักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จากัด.
มนูญ มุกข์ประดิษฐ์. (2547). “การศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจาก
พระราชดาริกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต.
บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี. ฉบับมหาจุฬาเตปิฏก . 2500.
กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุเทพ พรมเลิศ. (2553). “ศึกษาวิเคราะห์สังคมการเมืองในจักกวัตติสูตร”. สารนิพนธ์พุทธศาสตร
ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อานวย วีรวรรณ. (2555). “พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา” กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พ
ริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่งจากัด.
Bertil Lintner. Blood Brothers: The Criminal Underworld of Asia. Macmillan
Publishers. ISBN 1403961549.
Blumer, Herbert (1966). Sociological Implications of the Thought of George Herbert
Mead. American Journal of Sociology. 71 (5) March 1966.
Chris Baker. Pasuk Phongpaichit. A History of Thailand. Cambridge University Press.
ISBN 0521816157.
Glaser, B. and Strauss, A. (1967). The Discovery of Grounded Theory, Hawthorne NY:
Aldine.

เผยแพร่แล้ว

2020-03-30

How to Cite

พระครูสุนทรเขมาภินันท์. (2020). รูปแบบธรรมราชาในสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-01), 475–488. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/241128