รูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลในจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • พระสุระ ญาณธโร (จันทึก), รัฐพล เย็นใจมา, บุษกร วัฒนบุตร หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม, เทศบาลตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลในจังหวัดสุรินทร์ 2) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมและหลักธรรมที่ใช้ในการบริหารงาน และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลในจังหวัดสุรินทร์ ผลการวิจัย พบว่า

  1. สภาพทั่วไปของการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลในจังหวัดสุรินทร์ พบว่า การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลในจังหวัดสุรินทร์โดยรวมอยู่ในระดับมาก
     (  = 3.68, S.D. = 0.63) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านสามารถเรียงลำดับได้ ดังนี้ ด้านการมีอิสระในการปฏิบัติงาน มีระดับสูงสุด (  = 3.72, S.D. = 0.72) รองลงมา คือ ด้านเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน (  = 3.70, S.D. = 0.69) ด้านความผูกพัน (  = 3.69, S.D. = 0.75) และที่อยู่ในระดับสุดท้ายคือด้านการไว้วางใจกัน (  = 3.61, S.D. = 0.76)
  2. แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมและหลักธรรมที่ใช้ในการบริหารงาน ได้แก่ การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมมี 4 ด้าน คือ 1.ด้านการไว้วางใจกัน 2.ด้านความผูกพัน 3.ด้านเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน 4.ด้านการมีอิสระในการปฏิบัติงาน ประยุกต์ใช้กับหลักอปริหานิยธรรม 7 ประการ ได้แก่ 1. ด้านหมั่นประชุมเป็นเนืองนิตย์ 2. ด้านพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม 3. ด้านการไม่บัญญัติ หรือไม่ล้มเลิกข้อบัญญัติตามอำเภอใจ 4. ด้านการเคารพเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา 5. ด้านการให้เกียรติ และคุ้มครองสิทธิสตรี 6. ด้านการส่งเสริม และรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามa7. ด้านการอารักขา คุ้มครอง ปกป้องอันชอบธรรม

           

  1. รูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลในจังหวัดสุรินทร์ มี 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบการไว้วางใจกันตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลในจังหวัดสุรินทร์ 2) รูปแบบความผูกพันตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลในจังหวัดสุรินทร์ 3) รูปแบบเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกันตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลในจังหวัดสุรินทร์ 4) รูปแบบการมีอิสระในการทำงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลในจังหวัดสุรินทร์  แต่ละรูปแบบมี 3 ระดับได้แก่ 1) ระดับบุคคล 2) ระดับการปฏิบัติงาน 3) ระดับผู้บริหารองค์กร และมี 12 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) มีความรู้คู่คุณธรรม 2) ทันต่อเหตุการณ์ 3) รับผิดชอบต่อส่วนรวม 4) มนุษยสัมพันธ์ที่ดี 5) การรวมพลัง ปรองดอง สมานฉันท์ 6) นำหลักการและหลักธรรมชี้นำองค์กร 7) มีระเบียบวินัย ใช้ชีวิตสมดุล 8) ปฏิบัติหน้าที่ตามฉันทามติ 9) ใช้หลักธรรมาธิปไตย 10) มีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม 11) ใช้ความสามารถปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ 12) หลักการบริหารจัดการที่ดี

References

ณรัฐ สวาสดิ์รัตน์. (2558). “รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของอาสาสมัครทหารพราน ในจังหวัด ชายแดนภาคใต้”. พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). พลวัตรการมีส่วนร่วมของประชาชน: จากอดีตจนถึงรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ.พี.กราฟิค ดีไซน์และการ พิมพ์ จำกัด.
นครินทร์ แก้วโชติรุ่ง. (2556). “รูปแบบและหลักการของการปกครองในพระไตรปิฏก”. พุทธ ศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิชญาภา เมธีวรฉัตร. (2558). “รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ภาคเหนือตอนล่าง 2”.พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิต วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิทยา จันทร์แดง. (2556). “การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบน”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร ดุษฎีบัณฑิต. วิทยาลัย นวัตกรรมการจัดการ:มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ใน พระบรมราชูปถัมภ์.
วิรัช กลิ่นสุบรรณ์. (2555). “การศึกษาเปรียบเทียบการปกครองของแคว้นวัชชีกับรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักร ไทยปีพุทธศักราช 2550”. สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต. บัณฑิต วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรนราชวิทยาลัย.
ศิริลักษณ์ สุวรรณวงศ์. (2538). ทฤษฎีและเทคนิคการสุ่มตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
เสนอ อัศวมันตา. (2558). “รูปแบบการบริหารจัดการตามหลักอปริหานิยธรรมขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัดนนทบุรี”.พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิต วิทยาลัย: มหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย.
อภินันท์ จันตะนี. (2549). การใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับการวิจัยทางธุรกิจ. ฝ่ายบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการจัดการ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
อากาศ อาจสนาม. (2558). “รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลเชิงพุทธบูรณาการของพยาบาล สังกัดกรม แพทย์ทหารเรือ”.พุทธศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เผยแพร่แล้ว

2017-05-16

How to Cite

บุษกร วัฒนบุตร พ. ญ. (จันทึก), ร. เ. (2017). รูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลในจังหวัดสุรินทร์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-05), 205–218. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/239817