การพัฒนาภาวะผู้นำการบริหารในการสื่อสารวิถีพุทธของกระทรวงแรงงาน

ผู้แต่ง

  • วรรณกานต์ ขาวลาภ, เติมศักดิ์ ทองอินทร์, พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาภาวะผู้นำ,การสื่อสารวิถีพุทธ,กระทรวงแรงงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพทั่วไป เกี่ยวกับการสื่อสารของกระทรวงแรงงาน (2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำในการสื่อสารของกระทรวงแรงงาน และ (3) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำในการสื่อสารวิถีพุทธของกระทรวงแรงงาน ซึ่งเป็นการศึกษาโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ประกอบด้วย พระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิ  ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ผู้เชี่ยวชาญจำนวน  39 รูป/คน ซึ่งผู้วิจัยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) และการจัดสนทนากลุ่ม (Focus-Group Discussion)  2 ชุด จำนวน 14 คน ซึ่งผู้วิจัยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) โดยแบ่งผู้ให้ข้อมูลหลักออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานจำนวน 9 คน  (2) กลุ่มนายจ้างและลูกจ้างจำนวน 4 คน (3) กลุ่มอาสาสมัครแรงงานจำนวน  1 คน โดยการวิเคราะห์เนื้อหา                     

            ผลการวิจัยพบว่า

            (1) กระทรวงแรงงานมีนโยบายการขับเคลื่อนด้านการสื่อสารองค์กรเพื่อสร้างการรับรู้           ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานต้องเป็นนักสื่อสารที่ดี เพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชน ให้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับภารกิจของกระทรวงแรงงานและรัฐบาล การสื่อสารสร้างการรับรู้เรื่องกฎหมายแรงงานให้แก่ นายจ้าง ผู้ประกอบการ แรงงานไทยและต่างด้าว และจากการวิเคราะห์กลยุทธ์ด้านการสื่อสารของกระทรวงแรงงาน พบว่า จุดอ่อน คือผู้บริหารของกระทรวงแรงงานบางส่วนยังขาดองค์ความรู้และทักษะในการสื่อสารวิถึพุทธอย่างถ่องแท้ ขาดนโยบายด้านการพัฒนาศักยภาพสำหรับผู้บริหาร องค์ความรู้ด้านการสื่อสารวิถีพุทธที่ถูกต้อง ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นที่ยอมรับและศรัทธาต่อประชาชนอย่างแท้จริง

            (2) ภาวะผู้นำ คือ กระบวนการที่ผู้บริหารกระทรวงแรงงานต้องใช้อิทธิพล กระตุ้น ชี้นำ ผลักดัน ให้บุคคลอื่น มีความเต็มใจและกระตือรือร้นในการกระทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จตามเป้าหมาย โดยเฉพาะการมีภาวะผู้นำวิถีพุทธ ซึ่งหมายถึง ผู้นำที่มีคุณลักษณะดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในทุติยปาปณิกสูตร ดังนี้ 1. จกฺขุมา คือ ต้องมีปัญญามองการณ์ไกล ฉลาดสามารถในการวางแผน และการใช้คน 2. วิธูโร คือ ต้องเป็นผู้มีความสามารถในการจัดการกิจการทั้งปวงได้ดีมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 3. นิสฺสยสมฺปนฺโน คือ เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดีกับเพื่อนร่วมงานและผู้อื่น

              (3) ข้อเสนอแนะ เห็นควรเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำในการสื่อสารเชิงพุทธของกระทรวงแรงงาน โดยการกำหนดเป็นนโยบายการพัฒนารายบุคคล(IDP)ของข้าราชการที่จะเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารทุกระดับ และเห็นควรมีพัฒนาด้วยวิธีการการจัดหลักสูตรฝึกอบรมธรรมะสำหรับผู้บริหาร การจัดหลักสูตรการสื่อสารวิถีพุทธตามแนวทางการสื่อสารของพระพุทธเจ้า การจัดการความรู้(KM)จากผู้เชี่ยวชาญภายในและภายนอกองค์กร การยกย่องชมเชยผู้บริหารที่เป็นผู้นำต้นแบบที่ดีในการสื่อสารวิถีพุทธของกระทรวงแรงงาน และเห็นควรให้กระทรวงแรงงานมีงบประมาณเพื่อการดำเนินการศึกษาวิจัย ด้านประชาสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมในภาคประชาสังคมให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการวางแผนประชาสัมพันธ์ของกระทรวงแรงงานในอนาคต

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมพร สุทัศนีย์. (2542). มนุษยสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารักษ์ ชัยมงคล. (2535). มนุษยสัมพันธ์สำหรับผู้บริหาร. กำแพงเพชร: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏกำแพงเพชร.
Green, Jack Coulson. The Effectiveness of Board of Directors Nonprofit Organization Serving Developmentally Disabled Adult. Dissertation Abstracts International, 55(12) June 1995: 3913.

เผยแพร่แล้ว

2017-05-16

How to Cite

พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ ว. ข. เ. ท. (2017). การพัฒนาภาวะผู้นำการบริหารในการสื่อสารวิถีพุทธของกระทรวงแรงงาน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-05), 161–170. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/239802